ข้ามไปที่บล็อกเนื้อหาหลัก
ข้อกำหนด: เงินช่วยเหลือด้านการฝากเลี้ยงดูบุตรในครอบครัวที่อยู่ลำบาก
ประเภทของผู้รับความช่วยเหลือ: เด็กที่มีทะเบียนอยู่ในเขตนครไทเป อายุไม่เกิน 12 ปี มีคุณสมบัติดังล่างนี้
  1. ครอบครัวที่มีรายได้ต่ำ และ ครอบครัวที่มีรายได้ระดับกลาง ตามข้อกำหนดของเทศบาลเมืองไทเป 
  2. เด็กก่อนวัยเข้าเรียนที่ได้รับการดูแลเรื่องที่พักอยู่อาศัยพิเศษจากรัฐ
  3. ได้รับการดูแลให้เข้าพักในสถานเลี้ยงดูเด็ก
  4. เด็กที่อยู่ในครอบครัวที่อันตราย
  5. เด็กที่มีอายุน้อยกว่า 6 ขวบและ อยู่ในครอบครัวที่ตกทุกข์ได้ยาก
  6. เด็กที่ผ่านการตรวจสอบจากกรมว่าเป็นเด็กที่อยู่ในสถานการณ์ฉุกเฉิน (จะต้องได้รับการดูแลเป็นพิเศษ และผ่านการตรวจสอบจริงจากกรม ให้ส่งต่อให้ผู้รับเลี้ยงดู)

หน่วยงานที่รับติดต่อ
กรมสังคมดูแลสตรีและเด็ก 1999 (นอกเมืองให้โทร 02-2720-8889) ต่อ 1623-1625



ข้อกำหนด: เงินช่วยเหลือเลี้ยงดูบุตรชั่วคราว (รวมองค์กร แม่นม มาช่วยเลี้ยงดูลูกที่บ้าน)
ประเภทของผู้รับความช่วยเหลือ: เด็กที่มีทะเบียนอยู่ในเขตนครไทเป มีอายุในช่วง 0-12 ปี มีคุณสมบัติดังล่างนี้
  1. เป็นครอบครัวที่มีรายได้ต่ำกว่ากำหนด
  2. พ่อแม่ฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งเป็นคนกลุ่มน้อย
  3. พ่อแม่ฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งพิการทางกายหรือใจ
  4. พี่น้องที่อาศัยร่วมกันมีคนใดคนหนึ่งถือบัตรผู้ที่พิการทางการหรือใจ และผ่านการรับรองจากโรงพยาบาลหลังจากรับการตรวจสอบภายใน 1 ปีถือว่ามีผล
  5. บุตรที่อายุไม่เกิน 6 ปีและมีครอบครัวที่ตกทุกข์ได้ยากตามกฎหมายมาตราที่ 4 ข้อ 1วรรค 1 วรรค 3 วรรค 5 วรรค 6 กำหนดไว้ (ชื่อย่อบุตรของครอบครัวตกทุข์)
  6. ครอบครัวที่มีแค่พ่อหรือแม่โดยลำพัง
  7. คู่ (หลาย) แฝด
  8. พ่อแม่ที่ฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งไม่มีงานทำและต้องการงานทำ
  9. คุณสมบัติอื่นที่ผ่านการรับรองจากศูนย์ครอบครัวที่โดนร้าย ศูนย์บริการสวัสดิการสังคม ศูนย์บริการสตรีหรือผ่านการรับรองจากหน่วยงาน กลุ่มงานที่เกี่ยวข้อง ครอบครัวที่ต้องการเงินช่วยเหลือชั่วคราว และมีคุณสมบัติที่ผ่านการตรวจสอบจากกรม

หน่วยงานที่รับติดต่อ
  • กรมสังคมดูแลสตรีและเด็ก 1999 (นอกเมืองให้โทร 02-2720-8889) ต่อ 1623-1625
  • หน่วยงานที่ช่วยในด้านการเฝ้าดูบุตร(แนะนำ「เว็บไซด์หมู่บ้านของแม่นมผู้เลี้ยงดู」) ฝากดูแลชั่วคราวต่อเดือนมากสุด 40 ชั่วโมง ถ้ามีความต้องการพิเศษให้ทำเรื่องขอต่อหน่วยงานที่เกี่ยวข้องได้ ผ่านการตรวจสอบแล้ว จะได้รับเงินช่วยเหลือมากที่สุด 80 ชั่วโมงต่อเดือน เงินช่วยเหลือรวมมากสุด 240 ชั่วโมงต่อปี



ข้อกำหนด:
การบริการรับฝากเลี้ยงดูเด็กเล็กอายุต่ำกว่า2ปีของสถานรับเลี้ยงเด็กของรัฐ และ สถานรับเลี้ยงดูเด็กที่กำลังทดลองบริการเข้าเป็นรูปแบบรัฐ(1/8/2018 ปฏิบัติใช้ตั้งแต่1/8/2018 เป็นต้นไปภายใน2เดือนให้เสร็จสิ้นการทำสัญญา และผู้ที่สอดคล้องตามเงื่อนไข ให้ติดตามการเบิกจ่ายตั้งแต่เดือน8/2018)

ประเภทของผู้รับความช่วยเหลือ:
ผู้มอบหมายที่มีคุณสมบัติตามเงื่อนไขด้านล่างนี้ นำเด็กเล็กส่งไปยังสถานฝากรับเลี้ยงดูเด็กเล็กที่ร่วมบริการรับฝากเลี้ยงดูเด็กเล็ก ต้องยื่นคำร้องไปยังรัฐบาลเทศบาล เขต(เมือง)เพื่อขอความช่วยเหลือด้านค่าใช้จ่ายบริการ
  1. ผู้มอบหมายที่ผ่านการอนุมัติจากหน่วยงานเก็บภาษีในปีที่ผ่านมา ยอดรวมของอัตรารวมภาษีเงินได้ยังไม่ถึงมาตรฐานการยื่นภาษีหรือยอดรวมภาษีเงินได้ทั้งหมดไม่ถึงร้อยละ 20 หรือผ่านการตรวจสอบจากรัฐบาล เขต เทศบาล จังหวัด (เมือง) ตามข้อกฎหมายการช่วยเหลือทางสังคมกำหนดให้เป็นครัวเรือนรายได้น้อยหรือครัวเรือนรายได้น้อยปานกลาง หรือครอบครัวด้อยโอกาส
  2. ผู้มอบหมายนำเด็กส่งรับฝากเลี้ยงดูเด็กในเวลากลางวัน,การรับฝากเลี้ยงดูเด็กตลอดวัน,การรับฝากเลี้ยงดูเด็กในเวลากลางคืน เป็นต้น และจำนวนชั่วโมงต่อสัปดาห์มากกว่า 30 ชั่วโมงขึ้นไป
  3. ผู้มอบหมายในระหว่างยื่นคำร้อง เด็กคนดั่งกล่าวไม่ได้อยู่ในความดูแลของหน่วยงานรัฐ ,ไม่ได้เบิกเงินอุดหนุนเพื่อการเลี้ยงดูบุตร,เงินอุดหนุนการพักงานเลี้ยงดูบุตรเพื่อมาเลี้ยงดูบุตรคนดั่งกล่าว หรือ รับเงินอุดหนุนลักษณะเดียวกันจากรัฐของเขตเทศบาลเมืองอื่น
  4. ผู้มอบหมายต้องไม่กำหนดการรับฝากเลี้ยงดูเด็ก 1 คนต่อผู้เลี้ยงดูเด็ก 1คน เด็กเล็กที่มีอาการพัฒนาการช้า,เป็นผู้พิการ,เป็นโรคที่หายาก หรือมีสถานการณ์พิเศษอื่นๆ ไม่อยู่ในขอบจำกัดนี้

จำนวนเงินอุดหนุน(ในหัวข้อนี้เงินอุดหนุนมากกว่าครึ่งเดือน ผู้ที่ไม่ครบ1เดือนให้คำนวณนับเป็น1เดือน ผู้ที่ไม่ถึงครึ่งเดือนให้คำนวณนับเป็นครึ่งเดือน) :
  • ผู้ที่นำเด็กส่งไปศูนย์รับเลี้ยงเด็กของรัฐที่มีเอกชนดำเนินงาน และ บ้านรับเลี้ยงเด็กชุมชนของกรุงไทเป:
    1. ครอบครัวทั่วไป (อัตราภาษีเงินได้ไม่ถึง20%):เด็กแต่ละคนแต่ละเดือนได้รับเงินอุดหนุน3,000 เหรียญไต้หวัน
    2. ครอบครัวรายได้น้อยปานกลาง:เด็กแต่ละคนแต่ละเดือนได้รับเงินอุดหนุน 5,000 เหรียญไต้หวัน
    3. ครอบครัวรายได้น้อยและครอบครัวด้อยโอกาส:เด็กแต่ละคนแต่ละเดือนได้รับเงินอุดหนุน7 ,000 เหรียญไต้หวัน
  • ผู้ที่นำเด็กส่งไปยังศูนย์รับเลี้ยงเด็กทารกของเอกชนและพี่เลี้ยงเด็กแบบที่พักอาศัยในกรุงไทเปที่เข้าร่วมทดลองบริการเข้าเป็นรูปแบบรัฐ
    1. ครอบครัวทั่วไป (อัตราภาษีเงินได้ไม่ถึง20%):เด็กแต่ละคนแต่ละเดือนได้รับเงินอุดหนุน6,000 เหรียญไต้หวัน
    2. ครอบครัวรายได้น้อยปานกลาง:เด็กแต่ละคนแต่ละเดือนได้รับเงินอุดหนุน 8 ,000 เหรียญไต้หวัน
    3. ครอบครัวรายได้น้อยและครอบครัวด้อยโอกาส:เด็กแต่ละคนแต่ละเดือนได้รับเงินอุดหนุน10 ,000 เหรียญไต้หวัน
  • ผู้ที่สอดคล้องตามเงื่อนไขหนึ่งในสองหัวข้อแรก และเป็นบุตรคนที่สามขึ้นไป เด็กแต่ละคนแต่ละเดือนได้รับเงินอุดหนุนเพิ่มอีก1 ,000 เหรียญไต้หวัน

หน่วยงานที่รับติดต่อ
ตั้งแต่วันที่ผู้ยื่นคำร้องได้ทำการฝากรับเลี้ยงดูเด็กเล็กตามจริงภายในเวลา 15 วันควรส่งเอกสารการยื่นเรื่องไปให้กับเจ้าหน้าที่รับเลี้ยงดูเด็กเล็กที่ร่วมในศูนย์บริการรับเลี้ยงดูเด็กแบบที่พักอาศัย หรือ ผ่านศูนย์รับเลี้ยงดูเด็กทารกที่บริการรับเลี้ยงดูเด็กอยู่เพื่อขอยื่นเรื่อง  โอนส่งให้แผนกสวัสดิการเพื่อสตรีและรับฝากเลี้ยงดูเด็กเล็ก กองการสังคม 1999 (นอกเขตพื้นที่ 02-27208889) กด1624-1625



ข้อกำหนด: ครอบครัวที่ผู้ปกครองต้องทำงานสามารถขอเงินช่วยเหลือการฝากเลี้ยงดูบุตรได้

ประเภทของผู้รับความช่วยเหลือ
  • พ่อแม่(หรือผู้ที่มีสิทธิดูแล)ทั้งคู่ หรือครอบครัวเลี้ยงเดี่ยวทำงาน  หรือ พ่อแม่ฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งทำงาน  หรืออีกฝ่ายป็นผู้ที่มีความพิการอย่างรุนแรง หรือเข้าบริการรับราชการทหารกองประจำการ หรือถูกจำคุกมากกว่า 1 ปีขึ้นไป หรือถูกเจ้าพนักงานปกครองควบคุมอิสรภาพ 1 ปีขึ้นไป ซึ่งอยู่ในระหว่างการดำเนินการ (ต้องแนบเอกสารคู่มือสำหรับผู้พิการ  หลักฐานที่เกี่ยวข้องกับการรับโทษหรือการเข้ารับราชการทหารกองประจำการ)เป็นสาเหตุทำให้ไม่สามารถดูแลบุตรเล็กในบ้านก่อนเข้าเรียนที่มีอายุยังไม่ครบ 2 ขวบเต็ม และจำเป็นที่จะต้องนำบุตรเล็กก่อนเข้าเรียนนั้นให้ผู้ดูแลเด็กเล็กในระบบผู้ดูแลเด็กเล็กชุมชนเป็นผู้ดูแลหรือให้พนักงานดูแลเด็กเล็กที่ศูนย์รับเลี้ยงเด็กเป็นผู้ดูแล ทั้งนี้ให้เป็นไปตามหนึ่งในเงื่อนไขด้านล่างนี้:
    1. ครอบครัวทั่วไป :พ่อแม่(หรือผู้ที่มีสิทธิดูแล) ทั้งคู่หรือครอบครัวที่มีผู้เฉพาะแม่หรือพ่อฝ่ายหนึ่งเท่านั้น ได้ผ่านเจ้าหน้าที่ผู้มีอำนาจส่วนกลางระบุว่าเป็นผู้ที่มีรายได้ในหนึ่งปีล่าสุดนั้น เงินรายได้รวมทั้งหมดเข้าด้วยกันต่ำกว่ามาตรฐานที่ต้องยื่นแบบฯ หรืออัตราภาษีเงินได้รวมกันไม่ถึงร้อยละ 20 เปอร์เซ็นต์ครอบครัวผู้ด้อยโอกาส:
    2. ครอบครัวที่มีรายได้ระดับกลาง  ครอบครัวที่มีรายได้ต่ำ เป็นครอบครัวที่ในบ้านมีบุตรเล็กก่อนเข้าเรียนที่มีอายุยังไม่ครบ 2 ขวบเต็มซึ่งมีพัฒนาการล่าช้า หรือเป็นเด็กผู้พิการ
    3. ครอบครัวสถานการณ์กรณีพิเศษ ครอบครัวที่มีความเสี่ยงสูง

รายละเอียดเงินอุดหนุน:
  • คุณสมบัติของผู้ดูแลเด็กเล็กเป็นผู้ที่มี 「วิชาที่เกี่ยวข้องกับเด็กปฐมวัย」หรือ「สำเร็จการอบรมเป็นผู้ดูแลเด็กเล็ก」:
    1. ครอบครัวทั่วไป:บุตรก่อนเข้าเรียนแต่ละคนแต่ละเดือนจะได้รับเงินสูงสุด 2,000 เหรียญไต้หวัน
    2. ครอบครัวผู้ด้อยโอกาสครัวเรือนที่มีรายได้ระดับกลางต่ำ บุตรก่อนเข้าเรียนแต่ละคนในแต่ละเดือนจะได้รับเงินสูงสุด3,000 เหรียญไต้หวัน  ครัวเรือนที่มีรายได้ต่ำ เป็นครอบครัวที่ในบ้านมีบุตรเล็กก่อนเข้าเรียนที่มีอายุยังไม่ครบ 2 ขวบเต็มซึ่งมีพัฒนาการล่าช้า หรือเป็นเด็กผู้พิการ 
    3. ครอบครัวสถานการณ์กรณีพิเศษ ครอบครัวที่มีความเสี่ยงสูง บุตรเล็กก่อนเข้าเรียนแต่ละคนในแต่ละเดือนจะได้รับเงินสูงสุด 4,000 เหรียญไต้หวัน
  •  คุณสมบัติผู้ดูแลเด็กเล็กคือ「ผู้ที่มีใบอนุญาตดูแลเด็กเล็ก」หรือเป็นผู้ที่มีบุตรอยู่ในศูนย์รับเลี้ยงเด็ก
    1. ครอบครัวทั่วไป:บุตรเล็กก่อนเข้าเรียนแต่ละคนในแต่ละเดือนได้รับเงินสูงสุด 3,000 เหรียญไต้หวัน。
    2. ครอบครัวผู้ด้อยโอกาส: ครัวเรือนที่มีรายได้ระดับกลาง บุตรเล็กก่อนเข้าเรียนแต่ละคนในแต่ละเดือนจะได้รับเงินสูงสุด4,000 เหรียญไต้หวัน  ครัวเรือนที่มีรายได้ต่ำ เป็นครอบครัวที่ในบ้านมีบุตรเล็กก่อนเข้าเรียนที่มีอายุยังไม่ครบ 2 ขวบเต็มซึ่งมีพัฒนาการล่าช้า หรือเป็นเด็กผู้พิการ   
    3. ครอบครัวสถานการณ์กรณีพิเศษ  ครอบครัวที่มีความเสี่ยงสูง บุตรเล็กก่อนเข้าเรียนแต่ละคนในแต่ละเดือนจะได้รับเงินสูงสุด 5,000 เหรียญไต้หวัน

หน่วยงานที่รับติดต่อ
ผ่านผู้เลี้ยงดูเข้าระบบหมู่บ้านผู้เลี้ยงดูบุตร หรือส่งบุตรของท่านเข้าเรียนในสถานอนุบาลพิเศษผ่านกรมสังคมกลุ่มสวัสดิการสตรีและเด็ก โทร 1999 (นอกเขตโทร 02-27208889) ต่อ 1623~1625


ข้อกำหนด: การดูแลรักษาเด็กก่อนวัยเข้าเรียน
ประเภทของผู้รับความช่วยเหลือ: การดูแลรักษาเด็กก่อนวัยเข้าเรียน

หน่วยงานที่รับติดต่อ
เมื่อพบว่าเด็กก่อนจะเข้าเรียนในระดับโรงเรียนประถม มีวาจาการพูด การแสดงออก การเรียนรู้ไม่เหมือนกับเด็กคนอื่น แนะนำให้พาเด็กไปรับการตรวจสอบที่โรงพยาบาลหรือศูนย์ให้การบริการดูแลรักช้าก็เด็กที่โรคพัฒนาช้าของกรมสังคม
 
ข้อมูลเพิ่มเติม : กองสวัสดิการสังคม เมืองไทเป