ข้ามไปที่บล็อกเนื้อหาหลัก

 

※สถานีบริการตรวจคนเข้าเมือง กรุงไทเป
I. คู่สมรสชาวจีนแผ่นดินใหญ่
หลังผ่านการอนุญาตให้ตั้งถิ่นฐานแล้ว ให้ผู้ยื่นขอนำใบอนุญาตมีถิ่นที่อยู่ระยะยาว (ส่งคืนยกเลิกใบอนุญาตมีถิ่นที่อยู่ของ
ผู้ยื่นขอ) และใบผ่านแดนหรือทงสิงเจิ้ง (หากเวลานี้ได้รับใบรับรองหลักฐานสูญเสียสัญชาติตนแล้ว ให้ส่งคืนในเวลาเดียวกัน) ไปที่สถานีบริการตรวจคนเข้าเมือง กรุงไทเป เพื่อติดต่อขอรับใบตั้งถิ่นฐาน และภายในเวลา 30 วันกรุณานำใบตั้งถิ่นฐาน ไปดำเนินการย้ายเข้าทะเบียนบ้านตัวจริง หรือเอกสารหลักฐานการมีสิทธิในอาคารที่อยู่อาศัยตัวจริง ไปดำเนินการแจ้งการย้ายเข้าทะเบียนบ้านครั้งแรก ณ หน่วยงานทะเบียนราษฎร์ในท้องที่
II. คู่สมรสชาวต่างชาติ
หลังผ่านการอนุญาตให้ตั้งถิ่นฐานแล้ว ให้ผู้ยื่นขอนำหนังสือเดินทางชาวต่างชาติ และใบอนุญาตมีถิ่นที่อยู่หรือใบกาม่า (ส่งคืนยกเลิกใบอนุญาตมีถิ่นที่อยู่ของผู้ยื่นขอ) ไปที่สถานีบริการตรวจคนเข้าเมือง กรุงไทเป เพื่อติดต่อขอรับใบตั้งถิ่นฐาน และภายในเวลา 30 วันกรุณานำใบตั้งถิ่นฐาน ไปดำเนินการย้ายเข้าทะเบียนบ้านตัวจริง หรือเอกสารหลักฐานการมีสิทธิในอาคารที่อยู่อาศัยตัวจริง ไปดำเนินการแจ้งย้ายเข้าทะเบียนบ้านครั้งแรก ณ หน่วยงานทะเบียนราษฎร์ในท้องที่
ตัวจริง ไปดำเนินการแจ้งย้ายเข้าทะเบียนบ้านครั้งแรก ณ สำนักทะเบียนในท้องที่
III. คู่สมรสชาวฮ่องกงและมาเก๊า
หลังผ่านการอนุญาตให้ตั้งถิ่นฐานแล้ว ส่งคืนยกเลิกใบอนุญาตมีถิ่นที่อยู่หรือใบกาม่าของผู้ยื่นขอ และภายในเวลา 30 วันกรุณานำใบตั้งถิ่นฐาน ไปทำเรื่องย้ายเข้าทะเบียนบ้านตัวจริง หรือเอกสารหลักฐานการมีสิทธิในอาคารที่อยู่อาศัยตัวจริง
ไปดำเนินการแจ้งย้ายเข้าทะเบียนบ้านครั้งแรก ณ หน่วยงานทะเบียนราษฎร์ในท้องที่
IV. เรื่องที่ต้องระวังร่วมกัน
หลังจากได้รับสัญชาติเป็นพลเมืองและแจ้งการย้ายเข้าทะเบียนบ้านแล้ว ภาระสิทธิหน้าที่ที่เกี่ยวข้อง การชำระภาษี
การให้บริการในกองทัพ การเข้าออกนอกประเทศ สิทธิในการศึกษา สิทธิทางการแพทย์ สิทธิการเข้าร่วมทางการเมือง ทรัพยากรด้านสวัสดิการ เป็นต้น จะต้องปฎิบัติตามพระราชบัญญัติกฎหมายที่เกี่ยวข้องของสาธารณรัฐประชาชนจีน

 

※สำนักงานประกันแรงงาน กระทรวงแรงงาน
I. ข้อควรระวังที่เกี่ยวข้องกับการเข้าร่วมการประกันแรงงาน
1.ผู้ย้ายถิ่นฐานใหม่ก่อนได้รับบัตรประจำตัวประชาชนครั้งแรก หากเคยใช้ใบถิ่นที่อยู่(ใบกาม่า)และหมายเลขหนังสือเดินทาง หรือหมายเลขบัตรประจำตัว(ถงอีเจิ้งห้าว)เข้าร่วมทำประกัน สามารถให้ตัวผู้ขอ หรือหน่วยงานบริการกรอก "ใบคำร้องขอเปลี่ยนแปลงข้อมูลผู้ถูกประกัน" พร้อมทั้งแนบบัตรประจำตัวประชาชน สำเนาหน้าหลัง และรายละเอียดข้อมูลก่อนการเข้าร่วมทำประกัน (ชื่อนามสกุลภาษาอังกฤษ
ใบถิ่นที่อยู่อาศัย และหมายเลขหนังสือเดินทาง)
ไปยังสำนักงานประกันแรงงานดำเนินการเปลี่ยนแปลงข้อมูลพื้นฐาน จำนวนปีที่เข้าร่วมประกันก่อนหน้าและหลังจะนำมาคิดคำนวณรวมกัน
2. หากผู้ย้ายถิ่นฐานใหม่ใช้วิธีการผ่านทางเว็บไซต์ หรือเครื่องสอบถามข้อมูลอัตโนมัติ ตรวจสอบข้อมูลการประกันส่วนบุคคล นอกจากในการเปลี่ยนแปลง
ข้อมูลดังกล่าวข้างต้นส่งไปที่สำนักงานประกันแรงงานเพื่อดำเนินการแล้ว ยังต้องมีการเปลี่ยนแปลงใบรับรองพลเมืองทางดิจิตอลหรือจื้อหลานเหรินผิงเจิ้งด้วย เนื่องจากใบรับรองพลเมืองทางดิจิตอลหรือจื้อหลานเหรินผิงเจิ้ง เป็นข้อมูลการสมัครที่ได้บันทึกไว้ในเวลานั้น หากใช้ใบรับรองพลเมืองทางดิจิตอลหรือจื้อหลานเหรินผิงเจิ้งหมายเลขเก่า ไปตรวจสอบข้อมูลส่วนบุคคล อาจทำให้การจัดเรียงข้อมูลไม่ถูกต้องทำให้ข้อมูลที่ค้นหาไม่เจอได้ นอกจากนี้ผู้ที่มีบัตรประกันแรงงาน และผู้ที่มีบัตรวีซ่าจงหว๋าโพสท์ แจ้งเตือนท่านต้องแจ้งให้ธนาคารที่ออกบัตร และการไปรษณีย์รับทราบ จะได้รับรู้เหตุการณ์การทำประกันของตนเองไว้ตลอดเวลา อย่าปล่อยให้สิทธิของตัวท่านต้องสูญเปล่าไป
3. ช่องทางสอบถามข้อมูลการประกันแรงงานส่วนบุคคลมีดั่งนี้:
(1.)ผ่านเว็บไซต์สอบถามข้อมูลการทำประกันแรงงานส่วนบุคคล (รวมการสอบถามผ่านใบรับรองพลเมืองทางดิจิตอลหรือจื้อหลานเหรินผิงเจิ้ง สอบถามผ่านบัตรประกันแรงงาน สอบถามผ่านทาง "สำนักงานประกันแรงงาน APPบริการทางโทรศัพท์มือถือ "
(2.) โดยใช้บัตรประกันแรงงานสอบถามผ่านเครื่องสอบถามข้อมูลอัตโนมัติ(ATM)
(3.)โดยใช้บัตรวีซ่าจงหว๋าโพสท์สอบถามผ่านเครื่องสอบถามข้อมูลอัตโนมัติของการไปรษณีย์
(4.) สอบถามที่เคาน์เตอร์บริการ
(5.) สอบถามทางโทรศัพท์ (ตรวจสอบจำนวนรวมสะสมของปีเท่านั้น)
II. ข้อควรระวังที่เกี่ยวข้องกับการเบิกจ่ายเงินประกันแรงงาน
1.ผู้ย้ายถิ่นฐานใหม่ที่ได้รับบัตรประจำตัวประชาชนครั้งแรกขณะแจ้งต่อสำนักงานประกันแรงงานขอเบิกเบี้ยประกันแรงงาน กรุณาแน่ใจก่อนว่าบัญชีที่ใช้
2.ผู้ย้ายถิ่นฐานใหม่ก่อนหน้าได้รับบัตรประจำตัวประชาชนได้แจ้งต่อสำนักงานประกันแรงงานขอเบิกเงินประกันแรงงานไว้แล้ว หลังจากได้รับบัตรประจำตัวประชาชนครั้งแรก ควรรีบนำสำเนาเอกสารบัตรประจำตัวประชาชนให้กับสำนักงานประกันแรงงานไว้เพื่อตรวจสอบ
III. ข้อควรระวังเกี่ยวกับเงินเกษียณแรงงาน
1.ผู้ย้ายถิ่นฐานใหม่ที่ได้รับบัตรประจำตัวประชาชนครั้งแรก ซึ่งแต่เดิมใช้ใบมีถิ่นที่อยู่หรือใบกาม่าจ่ายชำระเงินเกษียณแรงงาน หน่วยงานที่ทำงานควรแจ้งต่อสำนักงานประกันแรงงานเพื่อดำเนินการเปลี่ยนแปลงข้อมูลใหม่:
(1) ผู้ย้ายถิ่นฐานใหม่ที่ชำระเงินเกษียณแรงงาน ในขณะเดียวกันได้เข้าร่วมทำประกันแรงงาน กรุณากรอกใบคำร้อง3รวม1 เปลี่ยนแปลงผู้ถูกประกัน เงินเกษียณแรงงาน ประกันสุขภาพ ประกันแรงงาน
พร้อมแนบสำเนาเอกสารบัตรประจำตัวประชาชนหน้าและหลัง
(2)สำหรับผู้ย้ายถิ่นฐานใหม่ที่ชำระเพียงเงินเกษียณแรงงาน (รวมถึงผู้ประกอบอาชีพอิสระที่สมัครใจชำระเงินเกษียณเอง) กรุณากรอกใบคำร้องยื่นขอเปลี่ยนแปลงข้อมูลเงินเกษียณแรงงาน (https://www.bli.gov.tw/0012956.html) พร้อมแนบสำเนาเอกสารบัตรประจำตัวประชาชนหน้าและหลัง
2.หากผู้ย้ายถิ่นฐานใหม่ที่ใช้ใบรับรองพลเมืองทางดิจิตอลหรือจื้อหลานเหรินผิงเจิ้ง บัตรประกันสังคมแรงงาน หรือบัตรวีซ่าไปรษณีย์ สอบถามบัญชีข้อมูลส่วนบุคคลเงินเกษียณแรงงาน หากได้รับบัตรประจำตัวประชาชนครั้งแรกแล้ว ขอให้สอบถามกับหน่วยงานทะเบียนราษฎร์ ธนาคารที่ออกบัตร หรือการไปรษณีย์ เพื่อดำเนินการเบิกเปลี่ยน หรือขั้นตอนเปลี่ยนแปลงข้อมูลที่เกี่ยวข้อง
3.ช่องทางสอบถามบัญชีเงินเกษียณแรงงานส่วนบุคคลมีดั่งด้านล่าง:
(1) ผ่านทางอินเทอร์เน็ตตรวจสอบข้อมูลการประกันแรงงานส่วนบุคคล (รวมสอบถามผ่านใบรับรองพลเมืองทางดิจิตอลหรือจื้อหลานเหรินผิงเจิ้ง
สอบถามผ่านบัตรประกันสังคมแรงงาน สอบถามผ่าน " สำนักงานประกันแรงงาน APPบริการทางโทรศัพท์มือถือ " )
(2) โดยใช้บัตรประกันสังคมแรงงานสอบถามผ่านเครื่องสอบถามข้อมูลอัตโนมัติ(ATM)
(3) โดยใช้บัตรวีซ่าไปรษณีย์สอบถามผ่านเครื่องสอบถามข้อมูลอัตโนมัติของการไปรษณีย์
(4) สอบถามทางเคาน์เตอร์
IV. ข้อควรระวังเกี่ยวกับสิทธิประโยชน์การเข้าร่วมเงินประกันบำนาญแห่งชาติและการชำระเงินประกันที่เกี่ยวข้อง
มีอายุครบ25 ปีบริบูรณ์ ยังไม่เต็ม65 ปี มีทะเบียนบ้านอยู่ภายในประเทศ ยังไม่ได้รับเงินประกันแรงงานผู้สูงอายุ เงินประกันชราภาพข้าราชการ หรือ
เงินสงเคราะห์ทหารผ่านศึก และเป็นผู้ย้ายถิ่นฐานใหม่ที่ยังไม่เข้าร่วมในเงินประกันแรงงาน เงินประกันทางการเกษตร เงินประกันชราภาพข้าราชการ หรือ
เงินสงเคราะห์ทหารผ่านศึก จะมีสำนักงานประกันแรงงานให้เข้าร่วมในเงินประกันบำนาญแห่งชาติโดยอัตโนมัติ ผู้เข้าร่วมเงินประกันบำนาญแห่งชาติ และทำตามกฏระเบียบการจ่ายเบี้ยประกัน ถึงอายุ 65ปี สามารถเก็บจำนวนปีสะสมของเงินประกันบำนาญแห่งชาติที่ผ่านมา ขอเบิกเงินบำนาญชราภาพได้
ยิ่งไปกว่านั้น ช่วงระยะเวลาการประกันเงินบำนาญแห่งชาติมีเหตุการณ์เกิดขึ้นกับผู้ประกันตน พร้อมให้บริการเงินจ่ายคลอดบุตร เงินสำหรับผู้พิการ เงินครอบครัว และเงินงานศพV.ผู้ย้ายถิ่นฐานใหม่แต่เดิมที่ใช้ใบมีถิ่นที่อยู่(ใบกาม่า) หรือหมายเลขหนังสือเดินทางเข้าร่วมทำประกัน หลังได้รับบัตรประจำตัวประชาชนเป็นครั้งแรกแล้วเริ่มได้รับใบแจ้งจ่ายเงินประกันบำนาญแห่งชาติ?
1. ผู้ที่เข้าร่วมการประกันแรงงานแล้ว แต่มิใช่เป้าหมายผู้เข้าร่วมเงินประกันบำนาญแห่งชาติ หากท่านมีงานทำและใช้ใบมีถิ่นที่อยู่อาศัย
(ใบกาม่า) หรือหมายเลขหนังสือเดินทางเข้าร่วมทำประกันแรงงาน แต่หลังจากได้รับบัตรประจำตัวประชาชนแล้ว จำเป็นต้องให้หน่วยงานที่ผู้ประกันตนเข้าร่วมประกันนั้นกรอก
"หนังสือยื่นคำร้องขอเปลี่ยนแปลงผู้ถูกประกันในประกันแรงงาน" พร้อมแนบสำเนาเอกสารบัตรประจำตัวประชาชนหน้าหลัง และสำเนาเอกสารทะเบียนบ้าน ให้สำนักงานประกันแรงงานดำเนินการเปลี่ยนแปลงข้อมูล โดยใช้หมายเลขประจำตัวประชาชนไต้หวันไปเปลี่ยนแปลงหมายเลขของใบมีถิ่นที่อยู่อาศัย(ใบกาม่า) หรือหนังสือเดินทางที่เข้าทำประกัน ดั่งนี้ก็สามารถหลีกเลี่ยงเหตุการณ์จากการได้รับใบแจ้งจ่ายเงินประกันบำนาญแห่งชาติในขณะที่สำนักงานประกันแรงงานกำลังดำเนินขั้นตอนเข้าทำประกันได้
2. นอกจากนี้ หากท่านได้รับใบแจ้งจ่ายเงินประกันบำนาญแห่งชาติแล้ว โปรดอย่าได้เป็นกังวล เพียงแต่หน่วยงานที่ผู้ประกันตนเข้าร่วมทำประกันได้มีการยื่นคำร้องขอเปลี่ยนแปลงดั่งข้างต้น เงินประกันบำนาญแห่งชาติจะนำมาตรวจเปรียบเทียบใหม่ และติดตามเพิกถอนการทำประกันเงินบำนาญแห่งชาติ พร้อมทั้งยกเลิกค่าใช้จ่ายเบี้ยประกัน!
VI. ข้อควรระวังสำหรับผู้ย้ายถิ่นฐานใหม่ที่กำลังขอเบิกเงินครอบครัวในเงินประกันบำนาญแห่งชาติ
การขอเบิกเงินครอบครัวในเงินประกันบำนาญแห่งชาติ สำหรับผู้ย้ายถิ่นฐานใหม่ที่ยังไม่ได้รับบัตรประจำตัวประชาชน ทุกปีต้องแนบบัตรแสดงตน และเอกสารที่เกี่ยวข้องกับการอยู่อาศัยส่งให้สำนักงานประกันแรงงานตรวจสอบ แต่หลังจากได้รับบัตรประจำตัวประชาชนแล้ว เพียงแต่นำสำเนาเอกสารทะเบียนบ้านที่ย้ายเข้าทะเบียนบ้านเรียบร้อยแล้วส่งให้กับสำนักงานประกันแรงงาน ทุกปีจากนั้นไม่จำเป็นต้องแนบเอกสารที่เกี่ยวข้องอีก แต่จะมีสำนักงานประกันแรงงานทำหน้าที่ตรวจสอบข้อมูลโดยตรงกับหน่วยงานทะเบียนราษฎร์ นอกจากนี้ แต่เดิมผู้ย้ายถิ่นฐานใหม่ที่ยื่นคำร้องขอเงินครอบครัวนั้น ได้ให้บัญชีส่วนบุคคลไว้กับสำนักงาน
ประกันแรงงานไว้เพื่อใช้โอนเบี้ยประกัน จำต้องยื่นคำร้องด้วยเพื่อขอเปลี่ยนแปลงหมายเลขต่อการไปรษณีย์หรือสถาบันทางการเงิน เงินครอบครัวถึงจะ
เข้าบัญชีได้อย่างถูกต้อง
○สอบถามการจ่ายเงินครอบครัวในเงินประกันบำนาญแห่งชาติ เบอร์โทร:(02)2396-1266 ต่อเบอร์ 6022
VII. ข้อควรระวังสำหรับผู้ย้ายถิ่นฐานใหม่ที่ได้บัตรประจำตัวประชาชนครั้งแรกยื่นคำร้องเข้าร่วมเงินประกันทางการเกษตร
1.ผู้ยื่นคำร้อง:เข้าทะเบียนบ้านแล้ว มีบัตรประจำตัวประชาชนไต้หวัน และเป็นผู้ทำงานจริงทางด้านการเกษตร ต้องยื่นคำร้องขอเข้าร่วมเงินประกันทางการเกษตรในสมาคมพื้นฐานการเกษตรในพื้นที่มีทะเบียนบ้านอยู่
2.คุณสมบัติของผู้สมัคร:กรุณาดูรายละเอียดได้ทางเว็บทั่วโลกของทางสำนักงานฯ (https://www.bli.gov.tw/en/0013363.html) เลือกคลิกการประกันเพื่อเกษตรกร/งานผู้ประกันตน/งานผู้ถูกประกัน-เข้าร่วมประกัน/คุณสมบัติการเข้าร่วมประกัน
3.หลังเข้าร่วมการประกันเพื่อเกษตรกรแล้ว หากคุณสมบัติของผู้สมัครมีการเปลี่ยนแปลง หรือสูญเสียไป ควรทำเรื่องแจ้งต่อสมาคมพื้นฐานการเกษตรในพื้นที่
มีทะเบียนบ้านอยู่

※สำนักงานขนส่ง พื้นที่กรุงไทเป
I. ใบขับขี่ภายในประเทศ

https://tpcmv.thb.gov.tw/en/cl.aspx?n=10293
II. การเปลี่ยนแปลงข้อมูลใบขับขี่

https://tpcmv.thb.gov.tw/en/cp.aspx?n=10286
III. ข้อควรทราบในการเปลี่ยนแปลงข้อมูลใบขับขี่ (ชื่อ-นามสกุล หมายเลขบัตรประจำตัว วันเดือนปีเกิด เปลี่ยนแปลงที่อยู่)
●เอกสารที่ต้องเตรียม
1.เอกสารประจำตัวอย่างใดอย่างหนึ่งด้านล่าง:
(1)พลเมืองซึ่งมีสัญชาติสาธารณรัฐประชาชนจีนมีทะเบียนบ้านอยู่ในพื้นที่ไต้หวัน ควรแนบบัตรประจำตัวประชาชน หรือบัตรประจำตัวทหาร
(2) ชาวต่างชาติ ชาวจีนแผ่นดินใหญ่ หรือพลเมืองที่ไม่มีทะเบียนบ้านในพื้นที่ไต้หวัน ควรแนบใบอนุญาตให้หยุดพำนักได้เป็นเวลาตั้งแต่1ปีขึ้นไป หรือหลักฐานการมีถิ่นที่อยู่ (ชิ้น)
(3) ชาวฮ่องกง หรือมาเก๊า ควรแนบหลักฐานการมีถิ่นที่อยู่ตั้งแต่ 1ปีขึ้นไป (ชิ้น) หรือหลักฐานการเข้าออกประเทศ นับตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม
ปีไต้หวัน 94 เป็นต้นไป ควรแนบหลักฐานการมีถิ่นที่อยู่ตั้งแต่ 1ปีขึ้นไป (ชิ้น) เพื่อดำเนินการ
2.ใบอนุญาตขับขี่ตัวจริงเดิม
3.ผู้ที่มีชื่อ-นามสกุลและหมายเลข เปลี่ยนแปลงในเวลาเดียวกัน ต้องแนบสำเนาทะเบียนบ้านต่างหาก (มีผลใช้ภายใน 3 เดือน) ให้ไว้ตรวจสอบ
4.สำหรับผู้ที่เปลี่ยนแปลงหมายเลข ให้แนบเอกสารหลักฐานหมายเลขที่เปลี่ยนแปลงจากหน่วยงานทะเบียนราษฎร์
5.รูปถ่ายเจ้าตัว 2 ใบ ขนาด 1 นิ้ว หน้าตรง ครึ่งตัว ไม่สวมหมวก พื้นขาว รูปถ่ายที่ถ่ายมาไม่เกิน 6 เดือน (ผู้ที่เปลี่ยนแปลงเฉพาะที่อยู่ไม่ต้องแนบรูปถ่าย)

●ข้อควรทราบในการยื่นคำร้อง
ค่าธรรมเนียมดำเนินการ:200 เหรียญไต้หวัน
เวลาดำเนินการ:ถึงเมื่อไหร่ทำได้เมื่อนั้น
วิธีการดำเนินการ:โดยตรงที่เคาน์เตอร์
●วิธีการยื่นคำร้อง:
ยื่นคำร้องด้วยตนเอง ให้ตัวแทนยื่นคำร้อง (หากให้ผู้อื่นมาดำเนินการแทน ผู้ดำเนินการแทนต้องแนบบัตรประจำตัวมาด้วยเพื่อตรวจสอบ)
หน่วยงานดำเนินการ :แผนกควบคุมใบอนุญาตขับขี่ สำนักงานขนส่ง พื้นที่กรุงไทเป
โทรศัพท์ :(02)2763-0155 กดเบอร์ 201 ,203
โทรสาร :(02)2766-8690
สถานที่:เลขที่ 21 ช่วง 4 ถนนปาเต่อ เขตซงซาน กรุงไทเป 10561
หน่วยใบอนุญาตขับขี่ สถานีกำกับดูแลซื่อหลิน สำนักงานขนส่ง พื้นที่กรุงไทเป
โทรศัพท์:(02)2763-0155 กดเบอร์ 726 , 727
โทรสาร :(02) 2831-4278
สถานที่ :เลขที่ 80 ช่วง 5 ถนนเฉินเต่อ เขตซื่อหลิน กรุงไทเป 11169
●ข้อควรระวัง :
1.หากกรณีไม่ปฏิบัติตามกฏถูกปรับ กรุณาไปยังหน่วยละเมิดจราจร(พั่นเจี่ยซัว) หรือชำระให้เสร็จสิ้นได้ที่สำนักงานฯถึงสามารถเปลี่ยนเบิก
ใบขับขี่ใหม่ได้
2.ผู้ขับรถอาชีพในธุรกิจรถบุคคลของกรุงไทเป เมื่อมีการเปลี่ยนแปลงชื่อ-นามสกุล หรือสถานที่อยู่ กรุณาแจ้งต่อสำนักงานบริการขนส่งสาธารณะก่อน (ชั้น 4 เลขที่ 300 ถนนซงเต่อ เขตซิ่นอี้ กรุงไทเป เบอร์โทร 02-27274168)
3.ผู้ขับรถอาชีพที่ถึงเวลาการตรวจทดสอบแล้วนั้น ควรเข้าดำเนินการตรวจทดสอบด้วยในเวลาเดียวกัน
4.ผู้ที่เปลี่ยนแปลงชื่อ-นามสกุล หมายเลขประจำตัวในเวลาเดียวกัน ต้องแนบสำเนาทะเบียนบ้าน ส่วนผู้ที่เปลี่ยนหมายเลขบัตรประจำตัวประชาชน ต้องแนบเอกสารที่เปลี่ยนจากหน่วยงานทะเบียนราษฎร์