ข้อบังคับ
ประเภทของผู้รับความช่วยเหลือ
กำหนดเขตตามทะเบียนบ้าน
หน่วยงานที่เกี่ยวข้อง
เงินช่วยเหลือครอบครัวที่ตกทุกข์ได้ยาก
1. ผู้ที่ได้แต่งงานกับประชากรในเขตพื้นที่นครไทเป ถ้าเกิดตกทุกข์ได้ยาก (เช่น สามีหายตัวไป ติดคุก ถึงแก่กรรม หรือโดนสามีทารุนถึงแก่ต้องขอหย่าร้างกัน โดนทำร้าย โดนตบตีทางกาย ไม่ได้แต่งงานแต่ท้องแล้วต้องเลี้ยงดูลูกที่อายุน้อยกว่า 18 โดยลำพังคนเดียว ไม่มีงานทำ หรือภายใน 3 เดือนเกิดอุบัติเหตุหนัก) คู่สมรสต่างชาติ ที่ต้องการเงินช่วยเหลือในการดำรงชีพ2. ส่วนที่ช่วยเหลือได้ คือฉุกเฉินในการดำรงชีพ เงินช่วยเหลือเด็กฝากเลี้ยงดู ให้เด็กเข้าเรียนได้พิเศษ เงินช่วยเหลือการศึกษาของเด็ก เงินช่วยเหลือเมื่อประสบอุบัติเหตุ ช่วยดูแลทางกายและใจ ช่วยเหลือในด้านกฎหมาย ช่วยเหลือในด้านให้กู้ยืมเงิน คอร์สการเรียนสำหรับสตรี เงินใช้ในการดำรงชีวิตของบุตร
ได้จดทะเบียนสมรสกับประชากรในเขตนครไทเปและพักอยู่อาศัยในนครไทเปจริง ไม่จำเป็นต้องมีทะเบียนบ้านในเขตนครไทเป
- แต่ละเขตจังหวัดของศูนย์บริการสตรีและครอบครัว
- กรมสัมคมดูแลสตรีและเด็ก 1999 (นอกเมืองให้โทร 02-2720-8889) ต่อ6969-71
เงินฉุกเฉิน
● เนื่องจากผู้ที่อาศัยอยู่ในครัวเรือนนั้นเสียชีวิตและไม่มีความสามารถจัดงานศพได้ ไม่ได้จัดอยู่ในผู้ที่มีรายได้ต่ำที่ทางเมืองไทเปได้กำหนดไว้。
● เนื่องจาก ผู้ที่อยู่ในครัวเรือนนั้นได้รับบาดเจ็บจากอุบัติเหตุหรือป่วยด้วยโรคร้ายแรง ทำให้ชีวิตตกอยู่ในความลำบาก。
● เนื่องจากเป็นหัวหน้าครอบครัวต้องรับผิดชอบความเป็นอยู่ของครอบครัว ตกงาน , หายตัวไป , ถูกเรียกเข้ารับราชการทหารหรือเป็นทหารประจำการ ,ถูกจำคุกรับโทษ , หรือถูกเจ้าหน้าที่ควบคุมตัวไว้, ถูกกักกันตามตัวบทกฏหมาย หรือมีสาเหตุอื่นทำให้ไม่สามารถทำงานได้ ทำให้ชีวิตตกอยู่ในสภาพที่ลำบาก.
●ทรัพย์สินหรือบัญชีเงินฝากออมทรัพย์ถูกศาลควบคุมการใช้จ่าย ถูกอายัดหรือเหตุผลอื่นที่ทำให้ไม่สามารถนำออกมาใช้ได้ ทำให้ชีวิตตกอยู่ในสภาพลำบาก.
●ได้ทำการยื่นเรื่องขอสวัสดิการหรือเงินจ่ายประกัน ในช่วงเวลาที่ยังไม่ได้รับการอนุมัตินั้น ชีวิตตกอยู่ในสภาพที่ลำบาก.
●เนื่องจากประสบกับสภาพการเปลี่ยนแปลงครั้งใหญ่ ทำให้ชีวิตตกอยู่ในความลำบาก ผ่านการเข้าเยี่ยมและประเมินผลจากองค์กรสังคมสงเคราะห์หรือสำนักงานเขต จนแน่ใจว่าจำเป็นต้องให้การช่วยเหลือ.
นอกจากเงินช่วยเหลือค่าพาหนะและเงินค่าปลอบขวัญภัยพิบัติแล้ว ทั้งนั้นต้องมีทะเบียนบ้านอยู่ในเมืองไทเป
- ที่ว่าาการอำเภอท้องถิ่น กลุ่มงานสัมคม
เงินฉุกเฉินช่วยเหลือเด็กและเยาวชนที่มีความบกพร่องทางกาย
1. เด็กและเยาวชนที่มีอายุไม่เกิน 18 ปี2. เด็กและเยาวชนที่ไม่ได้รับความช่วยเหลือที่พักจากรัฐบาล
3. เด็กที่พ่อแม่หย่าร้างกัน เสียชีวิต สูญหายไป ไม่มีงานทำ ป่วยเป็นโรค จำคุก เมาเหล้า เป็นโรคชอบทำร้ายผู้อื่น ไม่ได้แต่งงานแต่ท้อ หรือประสบภัยหนัก ทำให้ดำรงชีวิตอยู่ได้ลำบาก
4. รายได้ทั้งหมดของคนในครอบครัว ต่อคนต่อเดือนไม่เกินอัตรารายได้ขนาดกลาง คนในบ้านมีสังหาริมทรัพย์(รวมหุ้น ลงทุน เงินในบัญชี) โดยประมาณต่อคนไม่เกิน(หรือเท่าเทียม) หนึ่งแสนห้าหมื่นเหรียญไต้หวัน อสังหาริมทรัพย์ของคนในบ้าน(รวมที่ดิน บ้าน) มีมูลค่าน้อยกว่าหกล้านห้าแสนเหรียญไต้หวันหรือ มีหลักฐานยืนยันว่าภายในหนึ่งปีที่ผ่านมาดำรงชีวิตอยู่อย่างลำบาก สามารถขอรับเงินช่วยเหลือได้ มากสุดได้ 6 เดือนเท่านั้น
มีทะเบียนในนครไทเปและพักอยู่ในประเทศเกิน 6 เดือน
- กรมสังคมกลุ่มสวัสดิการเด็กและเยาวชน 1999 (นอกเมืองให้โทร 02-2720-8889) ต่อ 6972-4
- ถ้าผู้ยื่นเรื่องขอขอต่อหน่วยงานที่เกี่ยวข้องด้วยแล้ว ให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องทำเรื่องติดต่อประสานงานต่อ
เงินช่วยเหลือครอบครัวรายได้ต่ำ
1. รายได้ของคนในบ้านโดยประมาณ ต่อคนต่อเดือนน้อยกว่าที่กำหนด
2. เงินเก็บธนาคารของคนในบ้าน(รวมหุ้น ลงทุน เงินในบัญชี) โดยประมาณไม่เกิน หนึ่งแสนห้าหมื่อนเหรียญไต้หวันต่อคน
3. มูลค่าของที่ดินและบ้านของคนในบ้านรวมทั้งสิ้นไม่เกินห้าล้านห้าแสนเหรียญไต้หวัน เงินช่วยเหลือในส่วนให้ดำรงชีพ เงินช่วยเหลือในด้านประกันสุขภาพ การแพทย์ การคลอดลูก เงินช่วยเหลือค่าเรียนของบุตร เงินค่าคมนาคมเดินทางไปเรียน ลดหย่อนค่าเทอม
มีทะเบียนในนครไทเปและพักอยู่ในประเทศในหนึ่งปีที่ผ่านมาเกิน 183 วัน
ทีว่าการอำเภอตามทะเบียนบ้านกลุ่มงานสังคม 1999 (นอกเมืองให้โทร 02-2720-8889) ต่อ 1610-2
เงินข่วยเหลือฉุกเฉินอื่นๆ
● เนื่องจากเป็นหัวหน้าครอบครัวต้องรับผิดชอบความเป็นอยู่ของครอบครัวเสียชีวิต , หายตัวไป , ป่วยด้วยโรคที่ร้ายแรง , ตกงาน ,จากเหตุอื่นๆหรือจากเหตุที่ไม่คาดคิด อีกทั้งยังไม่สามารถได้รับความช่วยเหลือใดๆหรือเงินจ่ายประกัน ทำให้ชีวิตตกอยู่ในความลำบาก.
● ในเหตุกรณีฉุกเฉินให้ดูเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นในระยะอันใกล้ภายในสามเดือน กรณีเหตุเดียวกันนี้การขอยื่นเรื่องจำกัดให้ได้แค่ครั้งเดียว หากว่าผ่านการช่วยเหลือแล้วชีวิตยังคงตกอยู่ในสภาพที่ลำบาก และผ่านการเข้าเยี่ยมทั้งประเมินผล จนแน่ใจว่าผู้นั้นยังต้องการความช่วยเหลืออีก ก็จะให้ความช่วยเหลืออย่างมากอีกเพียงหนึ่งครั้ง。เป็นผู้ที่อาศัยอยู่ในเมืองไทเปจริง โดยไม่จำกัดว่ามีทะเบียนบ้านอยู่ในเมืองไทเป
- ทีว่าการอำเภอตามที่อยู่อาศัยจริงกลุ่มงานสังคม
ข้อมูลอื่นๆ ให้ดูเพิ่มเติมได้ที่เวปไซด์: กรมอนามัยเทศบาลนครไทเป