ข้ามไปที่บล็อกเนื้อหาหลัก
  เอเซียใต้ตะวันออกเฉียงใต้เป็นแหล่งที่ใช้เครื่องเทศมาช้านานแล้ว เริ่มตั้งแต่ก่อนคริสต์ศักราช 3000 ปี เเรกเริ่มมาจากประเทศอินเดีย หนังสือด้านการเเพทย์ของอินเดียที่มีชื่อเสียงชื่อว่า คัมภีร์อายุรเวช ได้มีการใช้พืชสมุนไพรมาก่อนแล้วเช่น ใบโหระพา อบเชย ขิง ใบอบเชยมดยอบ ไม้จันทน์หอม เป็นต้น ในอดีตกาล เครื่องเทศนำมาใช้ในด้านการแพทย์ การรักษาสภาพของอาหาร ด้านความหอม และจากการที่มีการติดต่อแลกเปลี่ยนทางการค้าด้วยทางเรือจึงทำให้เครื่องเทศจากแผ่นดินอินเดียเเพร่กระจายไปทั่วภูมิภาคเอเซียใต้ตะวันออกเฉียงใต้。

  พืชสมุนไพรมีทั้งการใช้เมล็ด เกสรดอกไม้ตูม ตัวผลใบ ลำต้น ราก สารสกัดสมุนไพร เป็นต้น นำมาประยุกต์ใช้ ด้วยที่มีกลิ่นหอมที่แรง ช่วยเพิ่มกลิ่นหอมให้กับอาหาร ช่วยในการเจริญอาหาร ช่วยลดอาการจุกเสียดในการย่อยและดูดซึมกระเพาะแล้ว ทั้งมีส่วนผสมของน้ำมันในตัวเองสูง มีกลิ่นที่เข้มข้น นอกจากช่วยในด้านเจริญอาหาร ยังช่วยในการดับกลิ่นคาวของเสริมรสอาหาร ทั้งยังช่วยยับยั้งเเบคทีเรีย ไม่ให้อาหารเกิดการเสียได้ง่ายอีกด้วย ประเทศในแถบเอเซียใต้ตะวันออกเฉียงใต้ใช้พีชสมุนไพรเป็นเครื่องเทศดังด้านล่างนี้
 

 

ตะไคร้
(lemon grass)

ข้อมูลโดยย่อ:

มีชื่อเรียกอีกอย่างว่าหญ้าตะไคร้ จัดเป็นพืชยืนต้นวงศ์หญ้า มีถิ่นกำเนิดในประเทศอินเดีย ด้วยที่มีกลิ่นหอมปนมะนาวเข้มข้นถึงได้มีชื่อเสียงรู้จักกัน ทั้งกอจะกระจายกลิ่นหอมของมะนาวไปทั่ว ลักษณะภายนอกคล้ายหญ้าคา。

 ตะไคร้

สรรพคุณ:

บำบัดอาการอ่อนล้า บรรเทาอาการปวดกล้ามเนื้อ รักษาโรคหวัด เพิ่มภูมิต้านทานโรค ช่วยระบบย่อยอาหาร ให้ผิวชุ่มชื้น บำรุงหน้าให้สวยงาม

การใช้:

เหมาะในการเพิ่มรสชาติให้กับอาหารเป็นอย่างมาก อย่างเช่นจานอาหารไทย「ปลานึ่งมะนาว」และ「ต้มยำกุ้ง」ไม่อาจที่จะขาดตะไคร้ได้ ใบของมันไม่ว่าจะแห้งหรือสดต่างก็เหมาะสำหรับใช้ชงชา รสบางๆของกลิ่นหอมมะนาว ดื่มแล้วสดชื่นทำให้รู้สึกสบาย。

ใบมะกรูด
(kaffir Lime )

ข้อมูลโดยย่อ:

ใบมะนาวเอเซีย มีกลิ่นหอมเป็นรสส้มดอกไม้ ไม่ได้ออกไปทางกลิ่นมะนาวทั้งหมด ทั้งไม่ได้ออกไปทางกลิ่นเลมอน

ใบมะกรูด

สรรพคุณ:

รสชาติเบาบางเผ็ดเล็กน้อย ให้ความหวาน บำรุงปอด บำรุงกระเพาะ ขับเสลด ลดอาการไอ ขับลมเรียกน้ำย่อยเป็นต้น

การใช้:

อาหารจานน้ำซุปในหลายๆจานของอาหารไทย จานสลัดผัดผักจานร้อน ต่างใช้ใบมะกรูดมาช่วยเพิ่มความหอม。

ใบโหระพา
(basil)

ข้อมูลโดยย่อ:

เป็นพืชสมุนไพรปีเดียว ลำต้นตรง ความสูงอาจสูงถึง50~100 เซนติเมตร ใบมีรูปไข่ ดอกเป็นสีขาว ใบโหระพามีถิ่นกำเนิดในอินเดีย เป็นหนึ่งในเครื่องเทศที่มีใช้เก่าแก่ที่สุด แบ่งเป็นพันธุเอเซียและพันธุยุโรป ชาวอินเดียเชื่อว่าโหระพาทำให้อากาศบริสุทธิ์ ไม่เพียงสามารถไม่ให้เชื้อโรคปนเปื้อมในอากาศแล้ว ยังช่วยให้จิตใจมีความนิ่งสงบ เหตุนี้ถึงได้ชื่อว่า「หญ้าศักดิ์สิทธิ์」ไต้หวันมีเนเธอร์แลนด์เป็นผู้ที่นำเข้ามา ไม่คิดว่ารสชาติพิเศษของมันจะเหมาะกับวิถีทานอาหารของคนไต้หวัน รวมทั้งอากาศเหมาะสำหรับการเจริญเติบโตเพราะ เหตุนี้ในพื้นที่ไต้หวันจึงพบเห็นได้โดยทั่วไป。

ใบโหระพา

สรรพคุณ:

ช่วยแก้อาการจุกเสียด ช่วยย่อยอาหาร ช่วยในการไหลเวียนโลหิตและเสริมสร้างประสาทให้สงบ ซึ่งมีส่วนช่วยเป็นอย่างมาก การวิจัยของแพทย์รับรองว่าสามารถช่วยบรรเทาอาการของโรคไมเกรน บรรเทาอาการคัดจมูก ขับลมและฆ่าเชื้อโรค ช่วยขับปัสสาวะและเหงื่อเป็นต้น

การใช้:

ใบโหระพามีกลิ่นแรง ช่วยบรรเทาอาการของโรคที่เกิดเฉียบพลัน ส่วนใหญ่ใช้ในขณะปรุงอาหาร โดยเฉพาะอาหารแถบทะเลเมดิเตอร์เรเนียนและเอเซียตะวันออกเฉียงใต้ อาหารไทยผัดแกงกะหรี่ก่อนยกขึ้นจะใส่ลงไปกำหนึ่ง กลิ่นหอมจะอบอวลไปทั่วผสมผสานเข้ากันกับน้ำกะทิได้อย่างกลมกลืน。

พริก
(chili)

ข้อมูลโดยย่อ:

มีถิ่นกำเนิดเดิมจากทวีปอเมริกากลางและใต้และจากหมู่เกาะแคริบเบียน เป็นพืชสมุนไพรยืนต้น ใบรูปร่างกลมรี ปลายใบแหลมเป็นใบเลี้ยงคู่ ตัวผลพริกมีลักษณะยาว พองหรือกรวย ปกติจะมีสีแดงหรือสีเขียว ความเผ็ดมีมากก่อให้เกิดร้อนแรงระคายเคืองได้ โดยเฉพาะพริกที่มีผิวบาง ผลเล็กยิ่งเผ็ดมากอย่างหาที่เปรียบไม่ได้ เมล็ดของตัวพริกเองก็เผ็ดมาก แต่ระดับความเผ็ดของผิวน่าอยู่ในระดับกลาง ขณะใช้พริกในการปรุงผัดอาหารนั้นจะมีกลิ่นของความเผ็ดออกมาระคายจมูก ซึ่งถือได้ว่าเป็นหนึ่งในลักษณะเฉพาะตัว สายพันธุ์มีมากมายแต่ที่นิยมใช้อยู่บ่อยๆมีสองชนิดคือ พริกเผ็ด(เรียกอีกชื่อหนึ่งว่าพริกไคเหยียน)กับพริกชี้ฟ้าแดง

พริก

สรรพคุณ:

คุณค่าทางโภชนาการสูง มีวิตามินเอ ซี ทั้งให้ความอบอุ่น ช่วยกระตุ้นให้เจริญอาหารและช่วยในการหายใจสะดวก สามารถช่วยในการบรรเทาอาการโรคไขข้อและไขข้ออักเสบได้

การใช้:

สำหรับใช้ในการปรุงรสชาติของอาหารนั้นช่วยในการดับกลิ่นคาวอาหารและมีประสิทธิผลของการฆ่าเชื้อด้วย นอกจากตัวพริกสดใช้ในการปรุงอาหารแล้ว ในตลาดยังมีผลิตภัณฑ์ที่ใช้พริกเป็นตัวหลักเช่นพริกชี้ฟ้าแห้ง พริกป่น น้ำมันพริก ซ๊อสพริกเป็นต้น ทั้งหมดเหล่านี้ต่างก็เป็นตัวช่วยที่ดีในการประกอบอาหาร!

ข่า
(Galangal)

ข้อมูลโดยย่อ:

ข่าเป็นพืชยืนต้นวงศ์หญ้า รสชาติเผ็ดร้อนเบาบาง ถือได้ว่าเป็นวิธีการรักษาโรคในระดับกลาง ในการแพทย์แผนโบราณจีน เปิ๋นเฉ่ากังมุ บันทึกว่าข่าสามปีเป็นข่าที่ดีที่สุด ข่าแบ่งเป็นข่าใหญ่และข่าเล็ก ข่าเล็กมีกลิ่นหอมที่ปนเปื้อนกลิ่นเผ็ดร้อนมากกว่า ในทางการแพทย์ของเอเซียแล้ว ข่ามีผลในการช่วยบรรเทาอาการอักเสบเยื่อเมือกและอาการหายใจลำบาก หลายปีมานี้การวิจัยได้แสดงให้เห็นว่าในตัวข่าเองมีส่วนผสมที่สามารถช่วยในการต่อต้านมะเร็งได้。

ข่า

สรรพคุณ:

ให้ความอบอุ่นในกระเพาะ ระงับการปวด ช่วยขับลม คลายความเย็น เร่งการไหลเวียนของโลหิต ให้ร่างกายกระฉับกระเฉง

การใช้:

เอาส่วนที่เป็นเหง้าอ่อนมา หั่นเป็นแว่นหรือหั่นละเอียดใส่พร้อมกับเครื่องปรุงรสชาติอื่นปรุงในอาหาร ใช้ปรุงในอาหารจานเผ็ด ในการปรุงอาหารช่วยในการดับกลิ่นคาว ไม่ว่าจะเป็นอาหารหวานหรือเค็ม ข่ายังสามารถช่วยให้รสชาติของอาหารนั้นออกมาได้อย่างชัดเจนขึ้น อย่างอาหารไทยต้มข่าไก่ ต้มยำกุ้ง ผัดเผ็ดปลาหมึก ต่างก็มีข่าเป็นส่วนผสมอยู่ ในไทยจะเอาใบอ่อนหรือดอกที่ยังตูมอยู่มาผัดรวมกับผักชนิดอื่น ในมาเลเซียและอินโดนีเซีย ต่างก็นำข่ามาปรุงในอาหารแกงและใช้ในการอบอาหาร。

ผงขมิ้น
(Turmeric Powder)

ข้อมูลโดยย่อ:

ขมิ้นมีหลายชนิดถิ่นกำเนิดอยู่ในภูมิภาคเขตร้อน มีกลิ่นที่พิเศษคือ นำมาดมจะมีกลิ่นหอมที่อุดมไปด้วยกลิ่นไม้ มีกลิ่นหอมของดอกไม้ ส้มและขิงซ่อนอยู่ รสเผ็ดร้อน รสขมมีน้อยกว่าขิง เป็นหนึ่งในเครื่องปรุงสำคัญที่ใช้ในการปรุงแกงกะหรี่ สีสรรที่น่าชมของแกงกะหรี่ถือได้ว่าเป็นผลงานที่ได้จากขมิ้นนั่นเอง

ผงขมิ้น

สรรพคุณ:

ในเอเซียขมิ้นใช้ในการรักษาอาการกระเพาะ โรคตับ ทานได้โดยตรงทั้งช่วยในการทำความสะอาดกระเพาะปัสสาวะ กับน้ำนม น้ำตาลปรุงรวมเข้าด้วยกันสามารถแก้อาการโรคหวัดได้ หรือทำเป็นครีมช่วยรักษาอาการของโรคผิวหนัง

การใช้:

ในการปรุงอาหารของเอเซียตะวันออกเฉียงใต้ ผงขมิ้นจะถูกใช้อยู่บ่อยๆในผักสด อาหารประเภทถั่ว สีสรรที่สดใสก่อให้เกิดการอยากทานอาหาร ใช้ในอาหารชนิดดอง ปรับใช้ในสลัดครีมสไตล์ฝรั่งเศสและอื่นๆ วิธีที่ใช้ดั้งเดิมของชาวอินเดีย จะนำเอาผงขมิ้นมาใช้ในการย้อมทอผ้า หรือ นำมาทำเป็นโคลนสำหรับใช้ทำเป็นหน้ากากพอกหน้า。

มะขาม
(Tamarind)

ข้อมูลโดยย่อ:

มะขามถูกเรียกว่าพุทธาอินเดีย มีถิ่นกำเนิดอยู่ในอินเดีย เป็นหนึ่งในส่วนผสมของเครื่องเทศในผงแกงกะหรี่มาตั้งแต่สมัยโบราณ เนื้อในอุดมไปด้วยน้ำตาลและกรดอะซิติก กรดทาทาลิคและกรด
ซิตริกเป็นต้น ข้างในกรดทาทา ลิคมีค่อนข้างมาก มีรสเปรี้ยวและหวาน เนื้อเยื่อมะขามอุดมไปด้วยแคลเซี่ยม ฟอสฟอรัส เหล็กและองค์ประกอบอื่นๆเป็นต้น ในบรรดาผลไม้ถือได้ว่าเป็นผลไม้ที่มี แคลเซี่ยมประกอบอยู่เป็นอันดับหนึ่ง

มะขาม

สรรพคุณ:

ตามธรรมเนียมอันเก่าแก่ของอินเดีย สามารถนำมาใช้แก้โรคอุจจาระร่วงได้ทั้งช่วยในการขับถ่ายของเสีย และเพราะมีส่วนของวิตามินมากมาย ยังช่วยในการทำงานของตับและไตได้อีกด้วย

การใช้:

ผลมะขามสามารถทานได้โดยตรง และนำมาทำเป็นผลิตภัณฑ์ที่สามารถเก็บไว้ได้ อย่างเช่นผลไม้ดอง ทั้งใช้ในการประกอบอาหารเพื่อเพิ่มรสชาติได้อีก ผลมะขามนำมาผสมกับน้ำกลายเป็นน้ำมะขาม(ซ๊อส)ในซ๊อสหลายชนิดของอาหารไทยก็มีการปรุงด้วยน้ำมะขาม รสของความเปรี้ยวนั้นไม่แพ้มะนาว แต่ไม่อาจนำมาแช่ในน้ำร้อนได้มิฉะนั้นแล้วรสเปรี้ยวจะจางหายไป。

พริกไทย
(Pepper)

ข้อมูลโดยย่อ:

พริกไทยเป็นพืชสมุนไพรประเภทไม้เลื้อย เจริญเติบโตในพื้นที่เขตร้อนจากระดับน้ำทะเลสูงถึง1500ฟุต เช่นอินโดนีเซีย อินเดีย บราซิล มาเลเซีย ศรีลังกา ไทย สิงคโปร์เป็นต้น พริกไทยมีสีดำ ขาว เขียวและสีแดง ที่ใช้อยู่บ่อยๆ เป็นพริกไทยดำกับพริกไทยขาว พริกไทยดำรสค่อนข้างเผ็ดร้อน มีกลิ่นหอมรสเผ็ดร้อนแรง มีปริมาณน้ำมันสูง มักใช้ในการประกอบอาหาร ทั้งอร่อยมีผลดีต่อกระเพาะอาหาร พริกไทยขาวให้คุณค่าด้านยาเป็นหลัก ประสิทธิผลช่วยขับปัสสาวะ ช่วยลดอาการท้องอืดเป็นต้น

พริกไทย

สรรพคุณ:

ช่วยขับเหงื่อ แก้ลม ใช้เพื่อสุขภาพของกระเพาะอาหาร แก้อาการกระเพาะอ่อนแอ การไม่ย่อยของอาหาร ไม่อยากอาหารอาเจียน ท้องร่วง เจ็บกระเพาะเป็นต้น ซึ่งใช้พริกไทยขาวโดยทั่วไปในการเป็นยา

การใช้:

หากกล่าวถึงในการปรุงอาหาร การใช้พริกไทยมีการใช้งานที่กว้างมาก อย่างกุ้ง ปู ปลา อาหารทะเลสด เนื้อสัตว์ ผักสดเป็นต้น ก็เหมาะต่อการใช้ นอกจากนี้ ปรุงรสชาติในน้ำซุป การหมัก ต่างก็เหมาะสมในการใช้งาน!

มะนาว
(Lime)

ข้อมูลโดยย่อ:

ในพื้นที่เอเซียตะวันออกเฉียงใต้เป็นไม้ยืนต้นทรงพุ่ม เป็นผักที่ใช้ปรุงรสเฉพาะของเอเซียตะวันออกเฉียงใต้ มีกลิ่นหอมแรงของรสชาติมะนาวที่ไม่สามารถหาประเภทส้มอื่นๆ มาทดแทนได้ เวลาใช้ ใบไม้ที่แข็งอย่างเต็มที่มีกลิ่นหอมมากที่สุด ใบไม้ที่อ่อนมีกลิ่นหอมค่อนข้างน้อยกว่า

มะนาว

สรรพคุณ:

ช่วยให้เจริญอาหาร ปรับปรุงการทำงานของร่างกาย ป้องกันโรคลักปิดลักเปิด ฆ่าเชื้อโรคเป็นต้น。

การใช้:

ใช้ในขณะปรุงอาหาร เมื่อเริ่มร้อนก็ให้ใส่ลงไป เป็นการใช้ความร้อนจากการปรุงอาหารเพื่อให้รสชาติและกลิ่นหอมกระจายออกมา อาหารไทยที่มีชื่อว่า ต้มยำกุ้ง ปูผัดผงกะหรี่ กะทิหม้อไฟ เป็นต้น ใช้ปรุงร่วมกับเนื้อไก่หรืออาหารประเภทปลาจะช่วยเพิ่มรสชาติทั้งช่วยดับกลิ่นคาวได้

ผงกะหรี่
(Curry)

ข้อมูลโดยย่อ:

เริ่มมาจากอินเดีย เป็นส่วนผสมเครื่องเทศ นอกเหนือจากให้รสชาติอาหารดีขึ้นแล้ว ถือว่าเป็นหนึ่งในสมุนไพรของอินเดีย ด้วยกลิ่นหอมของเครื่องเทศเป็นหลัก ด้วยกลิ่นเผ็ดของพริกเป็นหลัก กับเครื่องเทศที่ปรับสีสรรเป็นหลัก โดยผลิตสำเร็จขึ้นจากสามส่วนนี้ แกงกะหรี่มีกลิ่นหอมและรสเผ็ด มีสีสรรชวนให้น่าทาน ปกติมีส่วนผสมดังนี้คือ เครื่องปรุงให้ความหอม40% เครื่องปรุงรสเผ็ด 20% เครื่องปรุงกลิ่นสี 30% อื่นๆ10% แน่นอนวิธีการในการทำไม่จำกัดเฉพาะอัตราส่วนที่ว่านี้ แต่การปรับเปลี่ยนอัตราส่วนในการผสมมีอยู่ไม่หยุด เพื่อให้สามารถผลิตผงกะหรี่ได้อย่างเป็นเอกลักษณ์ในหลากหลายรูปแบบต่อไป

ผงกะหรี่

สรรพคุณ:

ช่วยให้เจริญอาหาร อยากทานอาหาร ช่วยในการย่อยและการไหลเวียนโลหิต ขับเหงื่อช่วยลดอุณหภูมิ ถ้ารวมกับกรดในกระเพาะจะมีผลช่วยฆ่าเชื้อโรค ทั้งมีการลดอาการปวดอักเสบและช่วยชะลอความแก่(ป้องกันโรคอัลไซเมอร์)แต่ผงกะหรี่และผงขมิ้นเป็นส่วนที่ให้ความร้อน ผู้ที่มีอาการร้อนใน ง่ายต่อปากแห้งผาก เกิดความร้อนในร่างกาย กับปัสสาวะเป็นสีเข้ม ควรต้องใช้ในปริมาณที่เหมาะสม

การใช้:

ในยุโรปสมัยกลาง เครื่องเทศนอกจากใช้ในการปรุงอาหารแล้ว ยังมีประสิทธิผลในการใช้เป็นยาและเก็บรักษาเนื้อสัตว์ต่างๆได้อีกด้วย。

หอมแดง
(shallot)

ข้อมูลโดยย่อ:

สมุนไพรพืชยืนต้น ลำต้นมีลักษณะเป็นเกล็ดทรงกลมซ่อนอยู่ใต้ดิน เพราะผิวเป็นสีแดงม่วงถึงได้ชื่อนี้ หอมแดงมีถิ่นกำเนิดในปาเลสไตน์ถูกนำเข้าไปในยุโรปช่วงสงครามครูเสด ด้วยเหตุนี้เนเธอร์แลนด์ ฝรั่งเศส อังกฤษจึงเป็นผู้ผลิตที่สำคัญของหอมแดง ในเอเซียก็มีการเพาะชำหอมแดงเช่นกัน หอมแดงเป็นหนึ่งในเครื่องปรุงที่เพิ่มกลิ่นหอมให้กับรสชาติของอาหารซึ่งไม่อาจที่จะขาดไปได้

หอมแดง

สรรพคุณ:

ช่วยเพิ่มความสดใหม่ ช่วยในการดับกลิ่นคาว ทานบ่อยๆดีต่อกระเพาะ กระฉับกระเฉง ช่วยขับเหงื่อ ช่วยให้ปัสสาวะคล่อง เป็นต้นซึ่งเป็นประสิทธิผลที่ได้จากการทานหอมแดงนี้

การใช้:

นำหอมแดงนี้มาสับละเอียดเจียวด้วยไฟจนหอมแล้ว เรียกว่าหอมแดงเจียว เป็นหนึ่งในเครื่องปรุงซึ่งปกติจะถูกนำมาใช้ในการปรุงอาหารจีนเพื่อเพิ่มความหอมของอาหาร ในตลาดตอนนี้ก็มีการขายหอมแดงเจียวแห้งซึ่ง สะดวกในการใช้เป็นอย่างมาก แต่กลิ่นหอมของมันไม่สามารถเปรียบเทียบกับหอมแดงเจียวได้ไม่ใช่มีเพียงหอมแดงเจียวเท่านั้นที่ให้ความหอม ในประเทศไทยหอมแดงถือได้ว่าเป็นหนึ่งในวัตถุดิบหลักของการทำซ๊อสพริก และใช้บ่อยในการทำอาหารจานเย็นอีกด้วย

น้ำกะทิ
(Coconut milk)

ข้อมูลโดยย่อ:

มะพร้าวถือว่าเป็นสมบัติของพื้นที่เขตร้อน มีปริมาณน้ำมันและโปรตีนมากเป็นพิเศษ มะพร้าวแก่ที่สอยลงมาจากต้นนั้นสามารถนำมาปรุงเป็นอาหารให้คุณค่าทางโภชนาการที่ดี เมื่อผลแก่ได้ที่นำมาขูดเอาแต่เนื้อในใส่น้ำขยำให้ละเอียด ผ่านการกรองแล้ว ได้ออกมาลักษณะเดียวกันกับน้ำนมนั่นก็คือน้ำกะทิ กลิ่นหอมเข้มข้นของน้ำกะทิ เหมาะที่จะนำมาทำอาหารหวานทั้งใส่ในแกงกะหรี่หรือในแกงเผ็ด

น้ำกะทิ

สรรพคุณ:

เนื้อมะพร้าว บำรุงม้ามกระเพาะอาหาร น้ำมะพร้าว เสริมกำลัง ไม่ทำให้คอแห้ง ปัสสาวะคล่อง

การใช้:

ในประเทศไทยน้ำกะทินั้นเป็นเครื่องปรุงรสที่ขาดไม่ได้ไม่ว่าจะนำมาปรุงเป็นอาหารหวานหรือเค็ม ไม่เพียงแต่สามารถนำมาทำอาหารหวาน ของว่าง ขนมเค้กและในการปรุงอาหาร มีอาหารไทยหลายๆ อย่างจำเป็นที่ต้องใช้น้ำกะทิมาปรุงเป็นอาหาร น้ำกะทิของไทยที่มีชื่อคือนำมาทำเป็น อาหารหวานรวมมิตร นอกจากนี้เมื่อปรุงแกงกะหรี่ก็ต้องใส่น้ำกะทิลงไปเช่นกัน。