ข้ามไปที่บล็อกเนื้อหาหลัก

หลักเกณฑ์การตั้งชื่อภาษาจีนกลางสำหรับชาวต่างชาติ บุคคลไร้สัญชาติและบุตรธิดาเป็นอย่างไร?

1.ตามมติประชุมหารือเมื่อวันที่ 30 มกราคม 2012 “ประเด็นที่เกี่ยวข้องการใช้ชื่อภาษาจีนกลางของพลเมืองสาธารณรัฐจีนไต้หวันและชาวต่างชาติ”

2.ชาวต่างชาติหรือบุคคลไร้สัญชาติที่สมรสกับพลเมืองสาธารณรัฐจีนไต้หวันหรือที่แปลงสัญชาติเป็นสัญชาติสาธารณรัฐจีนไต้หวันมีแนวโน้มที่เพิ่มสูงขึ้น เพื่อเคารพในวัฒนธรรมหลากหลาย คำนึงถึงสภาพวัฒนธรรมของสาธารณรัฐจีนไต้หวัน เปิดให้ชาวต่างชาติหรือบุคคลไร้สัญชาติที่จดทะเบียนสมรสกับสาธารณรัฐจีนไต้หวันหรือที่แปลงสัญชาติเป็นสัญชาติสาธารณรัฐจีนไต้หวันและบุตรธิดาที่ใช้ชื่อภาษาจีนกลางเข้าทะเบียนบ้าน ควรมีหลักเกณฑ์ดำเนินการดังต่อไปนี้

(1)ชาวต่างชาติหรือบุคคลไร้สัญชาติหรือที่แปลงสัญชาติเป็นสัญชาติสาธารณรัฐจีนไต้หวันและบุตรธิดาขณะเข้าทะเบียนบ้าน ควรใช้ชื่อสกุลเป็นภาษาจีนกลาง

(2)ชาวต่างชาติหรือบุคคลไร้สัญชาติและบุตรธิดาที่ใช้ชื่อสกุลเป็นภาษาจีนกลางควรสอดคล้องตามนิสัยความเคยชินในการตั้งชื่อสกุลของสาธารณรัฐจีนไต้หวัน ตามที่กล่าวนิสัยความเคยชิน ชี้ถึงนามสกุลควรอยู่ด้านหน้า ชื่ออยู่ด้านหลัง สำหรับผู้ที่ไม่มีนามสกุลให้ใช้เพียงแค่ชื่อ ชื่อภาษาจีนสามารถมาจากชื่อภาษาจีนกลางที่มีเดิมหรือจากการถอดเสียงภาษาต่างประเทศ และควรใช้คำในพจนานุกรมที่กำหนดไว้ในกฎหมายชื่อสกุล ขึ้นอยู่กับความจำเป็นในการจัดการชื่อสกุล อย่าสร้างคำขึ้นเอง นอกจากนี้ระหว่างชื่อสกุลในภาษาจีนกลางไม่ควรมีเครื่องหมาย“ .” “, ” หรือ“ ช่องว่าง”

(3) การเปลี่ยนนามสกุล การใช้นามสกุลตามบุคคล การเปลี่ยนชื่อหรือการเปลี่ยนชื่อสกุลของชาวต่างชาติหรือบุคคลไร้สัญชาติและบุตรธิดา ควรเป็นตามการจัดการของบทบัญญัติแห่งประมวลกฎหมายแพ่งและระเบียบจัดการชื่อสกุล

(4)ชาวต่างชาติหรือบุคคลไร้สัญชาติและบุตรธิดาที่ใช้ชื่อสกุลเป็นภาษาจีนกลางแล้ว สามารถขอเปลี่ยนชื่อสกุลภาษาจีนกลาง

ได้ 1ครั้ง

3.หน่วยงานบริหารของภาครัฐควรใช้แนวทางที่สอดคล้องกันสำหรับการใช้ชื่อภาษาจีนกลางของชาวต่างชาติและบุคคลไร้สัญชาติ เมื่อกระทรวงการต่างประเทศ กรมตรวจคนเข้าเมืองกระทรวงมหาดไทย และกรมการปกครอง รับการยื่นคำร้องขอวีซ่า,ขอมีใบอนุญาตมีถิ่นที่อยู่จากชาวต่างชาติ หรือยื่นขอเข้าทะเบียนบ้านหรือยื่นขอแปลงสัญชาตินั้น หากต้องใช้ชื่อสกุลภาษาจีนกลาง ขอให้ดำเนินการตามหลักเกณฑ์ที่กล่าวมาข้างต้น