ข้ามไปที่บล็อกเนื้อหาหลัก

การเดินทางของฉันในไต้หวัน

พิธีกรจัดรายการวิทยุชาวฟิลิปปินส์ 

ชื่อสกุล :ซาอ้ายลี่ 

สัญชาติ:ฟิลิปปินส์ 


ฉันชื่อซาอ้ายลี่แต่งงานกับสามีชาวไต้หวันมีลูกสาวหนึ่งคน สามีอดีตทำงานเป็นผู้จัดการอาคาร ขณะนั้นฉันทำงานเป็นเลขานุการบริหารในบริษัทการท่องเที่ยว เนื่องจากต้องการซื้อบ้านในฟิลิปปินส์ ฉันจึงไปทำงานพาร์ทไทม์ในเวลากลางคืนเป็นครูสอนภาษาอังกฤษด้วย เนื่องจากฉันกับสามีทำงานทั้งคู่จึงต้องผลัดเวรกันเลี้ยงดูลูกสาวและรับส่งไปโรงเรียน รับกลับบ้าน เตรียมอาหารสามมื้อ เริ่มแรกเราทั้งคู่ไม่มีเงินเดือนสูงจึงต้องประหยัดเพื่อให้ครอบคลุมค่าใช้จ่ายได้ทั้งหมด อย่างไรก็ตาม เราก็ยังคงมีความสุขกับชีวิตครอบครัวที่เรียบง่ายเช่นนี้ ซึ่งก็แตกต่างจากในฟิลิปปินส์ที่มักจะใช้ชีวิตกันเป็นครอบครัวใหญ่ 

ช่วงแรกของการหางานไต้หวัน ฉันได้จัดตั้งสมาคม Filipinos Married to Taiwanese (FMTA)สมัยแรกๆที่จัดตั้งมีสมาชิกเพียงไม่กี่คน เวลาเจ็ดปีที่ฉันดูแลสมาคมฯ ได้เป็นตัวแทน FMTAเข้าร่วมการประชุมนานาชาติ จัดหลักสูตรภาษาอังกฤษ การประกอบอาหารสอนให้กับลูกๆของสมาชิก ช่วยผู้ที่ต้องการความช่วยเหลือและนักเรียนชาวฟิลิปปินส์ที่มาเรียนต่อที่ไต้หวัน รวมถึงจัดกิจกรรมที่เกี่ยวข้องอื่นๆ  

หลังสามีเสียชีวิต ฉันลาออกจากงานเลขาบริหารบริษัทการท่องเที่ยวและงานครูสอนภาษาอังกฤษ เริ่มต้นงานเขียนโดยมีลูกสาวช่วยเผยแพร่บทความและสิ่งตีพิมพ์ พร้อมออกนิตยสาร《The Migrants》ระยะแรกไม่มีเงินเดือนพอจ่ายให้พนักงาน ดังนั้นเราจึงต้องทำกันเองทั้งหมด 

เวลานั้นเพื่อหาเงินมาสนับสนุนค่ากระดาษและค่าสิ่งตีพิมพ์ต้องพึ่งรายได้จากโฆษณา ฉันชอบงานเขียนมากแต่เนื่องจากภาระทางบ้านและทางเศรษฐกิจจึงใช้เวลานานหลายปีถึงออกนิตยสาร 《The Migrants》  นิตยสารเล่มนี้ช่วยให้ผู้คนจำนวนมากที่ไม่สามารถออกไปข้างนอกได้ลดความเครียดและความวิตกกังวลในชีวิต ต่อมาพบว่าโซเชียลมีเดียมีความแพร่หลาย เปลี่ยนนิสัยในการอ่านสิ่งพิมพ์ที่เป็นกระดาษจึงได้เลิกการพิมพ์นิตยสาร ถึงแม้ว่าจะไม่ได้พิมพ์นิตยสารแล้ว แต่การทำงานนี้ทำให้ฉันรู้สึกว่าตัวเองมีคุณค่า การมุ่งความสนใจไปที่งานเขียนทำให้ฉันลืมความเหงาจากการเสียชีวิตของสามีไปได้ชั่วขณะ 

หลังยุติงานสิ่งตีพิมพ์นิตยสารแล้ว ฉันโชคดีที่ได้เข้าทำงานรายงานข่าวไต้หวันที่สถานีวิทยุกระจายเสียงกลาง ฉันรู้สึกตื่นเต้นและภูมิใจที่ได้มาทำงานที่นี่ มีชาวไต้หวันและผู้ตั้งถิ่นฐานใหม่มากมายที่ไม่สามารถออกไปทำงาน เพียงแต่พึ่งพารายได้จากสามี เหตุการณ์เช่นนี้ฉันคิดว่าไม่ยุติธรรมนัก การทำงานไม่เพียงแต่ช่วยเปลี่ยนแปลงสภาพทางเศรษฐกิจให้ครอบครัว แต่ยังช่วยเพิ่มพูนความรู้และทำให้ได้รู้จักเพื่อนใหม่หลายคนจากการทำงานอีกด้วย

ถึงแม้ว่าฉันรักการทำงาน แต่ครอบครัวสำหรับฉันเป็นสิ่งที่สำคัญมากเช่นกัน โดยเฉพาะการศึกษาเล่าเรียน ฉันให้ความสำคัญสั่งสอนให้เด็กๆเคารพผู้คนที่อยู่รอบข้าง โดยเฉพาะกับผู้สูงอายุ ครูอาจารย์ เพื่อน เมื่อเด็กรู้จักเคารพคนอื่น คนอื่นก็จะให้ความเคารพตอบ ช่วงเวลาของการอบรมเลี้ยงดูลูกเป็นสิ่งที่ยาก ดังนั้นเราจึงต้องพิจาณาถึงสิ่งต่างๆมากมาย เช่น การศึกษาและการแสดงออกในโรงเรียนของพวกเขา แต่มีบางเรื่องที่เราไม่ควรบังคับ เช่น การสอบ เด็กหลายคนเป็นเด็กฉลาด แต่เด็กส่วนหนึ่งอาจไม่ใช่เด็กฉลาด หากเราเพิ่มแรงกดดันอาจทำให้พวกเขาไม่สามารถรับแรงกดดันนี้จนต้องไปทำร้ายตนเอง ไม่ว่าเด็กๆจะแสดงออกเป็นอย่างไร เราจึงควรให้กำลังใจส่งเสริมพวกเขา

ฉันรู้จักผู้ปกครองบางคน เพียงเพื่ออวดเพื่อน ๆ ว่าลูก ๆ ของฉันเก่งแค่ไหน บังคับลูกในโรงเรียนให้สอบได้คะแนนดีๆ สิ่งนี้เป็นสิ่งที่ไม่สมควร เราควรชื่นชมให้กำลังใจเด็กๆแทนที่จะกดดันพวกเขา พ่อแม่ควรเป็นตัวอย่างที่ดีให้กับลูก เพราะลูกจะเรียนรู้เห็นพ่อแม่เป็นตัวอย่างที่จะไปปฏิบัติต่อผู้อื่นอย่างไร

ฉันได้รู้จักคนหนุ่มสาวอีกหลายคน ถึงแม้ว่าคะแนนสอบในโรงเรียนไม่ค่อยดีนัก แต่ก็สามารถหางานทำที่ดีได้ ชีวิตเช่นนี้ยังมีความสุขที่ไม่เพียงพออีกหรือ? คนหนุ่มสาวที่ทำงานจะสามารถค้นคว้าหาความรู้ได้จากบริษัท เพื่อน เพื่อนร่วมงาน ไม่ว่าจะทำงานอะไร เพียงแต่มีความสุข มีรายได้ เราก็ควรรู้สึกอิ่มเอิบใจ ความสุขที่แท้จริงมาจากใจ นี่เป็นเหตุผลที่ดีของการมีชีวิตอยู่ในโลกนี้ ที่กล่าวมาเป็นประสบการณ์การใช้ชีวิตของฉันในไต้หวัน หวังว่าจะช่วยเหลือผู้ตั้งถิ่นฐานใหม่และลูกๆได้มากขึ้น