ชาวไต้หวันอาจคิดว่าประเทศไทยมีเพียงหน้าร้อนเท่านั้น แต่แท้จริงแล้วประเทศไทยปีหนึ่งแบ่งออกเป็น 3 ฤดู :ฤดูร้อน ฤดูหนาว และฤดูฝน ปกติเดือนเมษายนจะเป็นช่วงเวลาที่ร้อนที่สุดของปี ในเดือนเมษายนมีเทศกาลแห่งชาติที่สำคัญมากเทศกาลหนึ่ง ซึ่งเป็นเทศกาลที่ชาวไทย(รวมถึงที่อาศัยอยู่ต่างประเทศ) ต่างก็คาดหวังจะได้กลับบ้านเกิดไปอยู่ร่วมกับครอบครัว นั่นคือวันปีใหม่ของไทยที่มีชื่อเสียงโด่งดังไปทั่วโลก “เทศกาลสาดน้ำ” หรือที่เรียกว่า “เทศกาลวันสงกรานต์ (Songkran Festival)” เทศกาลสาดน้ำของทุกปีจะดึงดูดนักท่องเที่ยวจำนวนมากเข้ามาร่วมงานเฉลิมฉลอง
ตามปฏิทินไทยอย่างเป็นทางการ เทศกาลสาดน้ำจะจัดขึ้นเป็นประจำของทุกปีวันที่13-15 เมษายน ช่วงเวลานี้ที่ทำการราชการและร้านค้าจะปิดทำการ ประชาชนจะเดินทางกลับบ้านเกิดไปอยู่ร่วมกับครอบครัว เวลานั้นฉันยังอยู่ในประเทศไทยก็ไม่มีการยกเว้น ฉวยโอกาสวันหยุดยาวกลับบ้านเกิดไปหาครอบครัว ปรกติตอนเช้าตรู่วันที่ 13 เมษายนฉันกับครอบครัวจะไปที่วัด นำอาหารและสิ่งของที่จัดเตรียมไว้ถวายแด่พระสงฆ์ ภายในวัดยังมีการจัดงานปีละครั้ง “การสรงน้ำพระ” ให้เราได้ใช้น้ำสะอาดที่เตรียมไว้สรงน้ำพระพุทธรูป ฉันจำได้ว่าวันนั้นระหว่างทางกลับบ้าน จะถูกผู้คนที่เบียดเสียดกันมาสองข้างทางสาดน้ำจนเปียกปอนไปทั้งตัว ดังนั้นเมื่อกลับถึงบ้านจึงไม่รอช้าต้องรีบคว้าถังใส่น้ำจนเต็มออกไปข้างนอกร่วมสาดน้ำกับญาติมิตร ต่างฝ่ายต่างสาดน้ำกัน กิจกรรมที่สนุกสนานจะมีกันต่อเนื่อง3วัน และทุกคนจะสวมใส่เสื้อลายดอกสีสดใส
วันถัดไปเราทั้งครอบครัวจะออกไปรับประทานอาหารข้างนอกด้วยกัน มีบางครั้งจะขับรถไปเที่ยวเล่นที่ชายหาด เวลาเดียวกันฉันจะใช้น้ำสะอาดที่ใส่กลีบดอกไม้รดลงบนฝ่ามือของพ่อแม่ อวยพรพ่อแม่ในวันปีใหม่ ให้มีสุขภาพพลานามัยที่แข็งแรง ถึงแม้ว่าอากาศจะร้อนมาก แต่ทุกคนก็เที่ยวเล่นกันอย่างมีความสุข เชื่อว่าการสาดน้ำซึ่งกันจะช่วยชำระล้างสิ่งไม่ดีและโชคร้ายในปีก่อนให้หมดไป ช่วงเทศกาลสาดน้ำเป็นเช่นเดียวกับเทศกาลตรุษจีนในไต้หวันต้องปัดกวาดบ้านเรือนให้สะอาด สวมใส่เสื้อผ้าใหม่ และหลีกเลี่ยงคำพูดที่ไม่ดี เพื่อได้รับโชคดีในปีใหม่
หากเดือนเมษายนมีโอกาสไปท่องเที่ยวประเทศไทย ลองไปสัมผัสประสบการณ์เทศกาลสาดน้ำด้วยตนเอง ซึ่งมีทั้งความสนุกสนานและรับความโชคดี!
「การสรงน้ำพระ」
การรดน้ำดำหัวผู้สูงอายุ