ข้ามไปที่บล็อกเนื้อหาหลัก

การป้องกันความรุนแรงในครอบครัว

เมื่อประสบเหตุความรุนแรงในครอบครัวให้ทำดังนี้ 


เหตุการณ์เกิดฉุกเฉิน

โทรสายด่วน110 ขอความช่วยเหลือและบอกเหตุการณ์ที่โดนทำร้ายและสถานที่เกิดเหตุ

หลังได้รับแจ้งความแล้วจะรีบจัดส่งเจ้าหน้าที่ตำรวจไปยังสถานที่เพื่อระงับเหตุความรุนแรงไม่ให้เกิดขึ้นต่อไป พร้อมทั้งจะดูตามระดับอันตรายที่มีเพื่อขอใบคุ้มครองชั่วคราวแบบฉุกเฉินให้แก่ผู้เสียหาย และจะใช้มาตรการป้องกันที่จำเป็น เช่น ช่วยเหลือพาไปพบแพทย์,โอนย้ายจัดหาที่พักพิง เป็นต้น 


เหตุการณ์เกิดทั่วไป

1.ไปที่โรงพยาบาลพบแพทย์ตรวจร่างกายจากการทำร้าย ให้แพทย์ออกใบรับรองการตรวจร่างกาย

2. คุ้มครองตนเอง รีบขอความช่วยเหลือจากภายนอก

3. โทรสายด่วน110หรือโทรสายด่วน113 จะมีเจ้าหน้าที่นักสังคมสงเคราะห์ช่วยเหลือโอนเรื่องไปยังสถานีตำรวจหรือไปแจ้งความที่สถานีตำรวจด้วยตัวเอง

4. เก็บรักษาหลักฐานที่เกี่ยวข้อง เช่น ใบตรวจร่างกายที่โดนทำร้าย ภาพถ่าย เป็นต้นเพื่อยื่นขอคำสั่งคุ้มครองจากศาลท้องถิ่นตามสถานที่อยู่อาศัยหรือสถานที่เกิดเหตุ 

5.ยื่นขอร้องเรียนการกระทำผิดตามกฎหมาย(อายุความการร้องเรียนฐานทำร้ายร่างกาย:6 เดือน)


การบริการของหน่วยงานเจ้าหน้าที่ตำรวจที่มีต่อคุณ 

1. เจ้าหน้าที่ตำรวจของสถานีตำรวจหรือสถานีตำรวจภูธรจะเข้าดำเนินการสืบสวนสอบสวนคดีความรุนแรงในครอบครัว 

2. เก็บหลักฐาน สืบสวนรวบรวมพยานหลักฐาน  ส่งตัวผู้กระทำผิด 

3. มาตรการความปลอดภัยที่จำเป็นก่อนอนุมัติคำสั่งคุ้มครองชั่วคราว เช่น คุ้มครองความปลอดภัยส่งกลับและอารักขา ความช่วยเหลือฉุกเฉิน ความช่วยเหลือโอนย้ายหาที่พักพิงฉุกเฉิน

4. คำร้องขอให้มีคำสั่งคุ้มครองฉุกเฉินแบบชั่วคราว,ปฏิบัติตามคำสั่งคุ้มครอง 

5.โทรสายด่วนฉุกเฉิน:110

สายด่วนคุ้มครองทั่วประเทศ113

สายด่วนบริการให้คำปรึกษาสอบถามการใช้ชีวิตในไต้หวันสำหรับชาวต่างชาติ:1990


หัวข้อและเวลาบริการของสายด่วนบริการให้คำปรึกษาสอบถามการใช้ชีวิตในไต้หวันสำหรับชาวต่างชาติ


 “สายด่วนบริการให้คำปรึกษาสอบถามการใช้ชีวิตในไต้หวันสำหรับชาวต่างชาติ” :「1990」สายด่วนบริการจัดให้มีเจ้าหน้าที่บริการภาษาอังกฤษ ภาษาเวียดนาม ภาษาอินโดนีเซีย ภาษากัมพูชา และภาษาไทยรวม5ภาษา ให้บริการปรึกษาสอบถามข้อมูลที่เกี่ยวข้องกับการกระทำความรุนแรงในครอบครัวให้กับผู้ตั้งถิ่นฐานใหม่ การป้องกันการล่วงละเมิดทางเพศและการคุ้มครองเด็กและเยาวชน เป็นต้น แต่ละภาษามีช่วงการบริการดังต่อไปนี้


ช่วงเวลาบริการ 

ภาษาจีนกลาง ภาษาอังกฤษ ภาษาญี่ปุ่น :24 ชั่วโมง

ภาษาเวียดนาม ภาษาอินโดนีเซีย ภาษาไทย ภาษากัมพูชา: วันจันทร์-วันศุกร์ เวลา 09:00~17:00 น.