ข้ามไปที่บล็อกเนื้อหาหลัก

ลูกรักขอให้บอกพ่อแม่...หลักการสื่อสารระหว่างพ่อแม่ลูกเมื่อเกิดเหตุการณ์ในโรงเรียน

หัวหน้าฝ่ายโรงเรียนประถมศึกษาป๋ออ้าย หวางจงซิ่น

   

การปฏิสัมพันธ์ระหว่างบุคคลในโรงเรียนและกระบวนการเจริญเติบโตมักทำให้เด็กประสบปัญหา 

ผู้ปกครองควรฉวยโอกาสนี้รับฟังและพูดคุยให้มากขึ้น แสดงความรักและความห่วงใยจัดการเรื่องราว

ให้เรียบร้อย เปลี่ยนอันตรายให้กลายเป็นโอกาสดึงความสัมพันธ์ระหว่างพ่อแม่ลูกให้ได้ใกล้ชิดมากขึ้น

จะมาแบ่งปันหลักการวิธีช่วยให้เข้าใจเวลาที่สื่อสารกันระหว่างพ่อแม่ลูกให้ไว้พิจารณาตามด้านล่าง


1.ก่อนเกิดเหตุการณ์


(1) เข้าร่วมกิจกรรมชั้นเรียน:เข้าร่วมกิจกรรมชั้นเรียน(การประชุมชั้นเรียน,การทัศนศึกษานอกโรงเรียนฯลฯ)ทำความเข้าใจลูกเข้ากับเพื่อนในโรงเรียนอย่างไร ยังได้ถือโอกาสทำความเข้าใจรูปแบบการสอนของครูและวิธีการจัดห้องเรียน


(2) ติดต่อใกล้ชิดกับครูประจำชั้น:เพราะครูเป็นผู้ที่ใช้เวลาอยู่กับเด็กในโรงเรียนมากที่สุด ติดต่อใกล้ชิดกับครูเป็นสิ่งที่จำเป็นซึ่งจะทำให้เข้าใจถึงการปฏิสัมพันธ์ระหว่างบุคคลของเด็กและสถานการณ์การเรียนรู้ในโรงเรียน


(3) สังเกตปฏิกิริยาที่ผิดแปลกไปของเด็ก:กระวนกระวาย,เวลาพูดคุยถึงเรื่องราวในโรงเรียนจะเงียบ,หลังวันหยุดรู้สึกกลัวที่จะกลับไปโรงเรียน,มักมีอาการเจ็บท้องร่างกายไม่สบายบ่อยๆ เมื่อมีอาการเหล่านี้ต้องรู้แล้วว่าเด็กกำลังเผชิญกับความกดดันหรือความยากลำบากหรือไม่


2. หลังเกิดเหตุการณ์


(1)ฟังให้มาก ไม่ตำหนิ


ใช้กระบวนการสื่อสารจากเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นมาใช้เป็นโอกาสเข้าใจในตัวลูก พ่อแม่ต้องเข้าใจความคิดอ่านของลูกก่อนจึงจะสื่อสารได้ อย่ารีบร้อนตัดบทหรือแทรกคำตำหนิ(เธอคงเป็นเช่นนี้เช่นนี้ แม่เข้าใจเธอดี)หลีกเลี่ยงในอนาคตลูกอาจจะต่อต้านเมื่อมาพูดคุยกัน


(2)เอาใจลูกมาใส่ใจพ่อแม่ ให้ความสำคัญกับความรู้สึกของลูก


เปรียบเทียบกับการแก้ไขพฤติกรรมแล้วมาใส่ใจความรู้สึกของลูกเป็นอันดับแรกจะสำคัญกว่า นี่เป็นหน้าที่

ของพ่อแม่ที่ไม่สามารถแทนที่ได้ หากเด็กถูกสัมภาษณ์หรือถูกตักเตือนที่โรงเรียน กลับบ้านมา

ยังต้องเจอกับการพูดคุยกันอีก จิตใจที่ยังไม่เติบโตเต็มที่อาจจะรับภาระหนักเกินไป ดังนั้นตอนนี้พ่อแม่

ควรเปิดโอกาสให้ลูกได้แสดงออก ให้ความเห็นอกเห็นใจเพื่อเด็กจะได้เปิดเผยความรู้สึกที่แท้จริงออกมา


(3)ก่อนและหลังการพูดคุยให้ความรักและการสนับสนุน


เวลาที่สื่อสารกันไม่ว่าผลการสื่อสารที่ผู้ปกครองคาดหวังไว้จะบรรลุผลหรือไม่ ควรที่จะปลอบโยนและให้

กำลังใจลูกยืนอยู่ข้างลูก เพราะท้ายที่สุดแล้วเด็กๆ ยังต้องการความรักและกำลังใจจากพ่อแม่ที่ช่วย

หล่อเลี้ยงให้เปลี่ยนแปลงเจริญเติบโต


(4)หารือกับลูกเกี่ยวกับวิธีการแก้ปัญหาที่เป็นไปได้ในอนาคต


เมื่อเผชิญหน้ากับปัญหาพ่อแม่สามารถให้คำแนะนำ แต่อย่าคาดหวังว่าในครั้งเดียวลูกจะเข้าใจให้ลูกมี

โอกาสได้เสริมสร้างทักษะการแก้ปัญหา เช่นนี้แล้วระหว่างพ่อแม่และลูกจึงจะสามารถพูดคุยสื่อสารกันได้

โดยที่ไม่กระทบต่อคุณค่าในตนเองที่เด็กรับรู้จนถึงหมดสิ้นความกระตือรือร้นที่ไปเรียนหนังสือ


สร้างนิสัยในการพูดคุยกับลูกเกี่ยวกับเหตุการณ์ในโรงเรียน เข้าใจถึงเรื่องราวที่ลูกประสบพบเจอและการ

เปลี่ยนแปลงทางด้านจิตใจซึ่งสามารถชี้แนะและเป็นกำลังใจได้อย่างเหมาะสม ผ่านการรับฟังเป็นผู้ฟังที่ดี

ให้ลูกด้วยการพูดคุยร่วมกันระหว่างพ่อแม่และลูกจะช่วยพัฒนาทักษะในการแก้ปัญหา เมื่อต้องเผชิญกับ

เหตุการณ์ในโรงเรียนจะยิ่งสามารถปรับตัวให้เข้ากับสถานการณ์ต่างๆได้ดีขึ้นในอนาคต