หวังเผ่ยหลิง หัวหน้าฝ่ายของโรงเรียนมัธยมศึกษากู่ถิง
ช่วงไม่กี่ปีที่ผ่านมาที่ได้รวบรวมประเด็นด้านการศึกษาของบุตรธิดาผู้ตั้งถิ่นฐานใหม่ที่ผู้ปกครองห่วงใย พร้อมทั้งแบ่งปันและให้ข้อเสนอแนะ:
อุปสรรคทางภาษาและความยากลำบากในการเรียนรู้: ผู้ปกครองมีความกังวลใจเกี่ยวกับอุปสรรคทางภาษาและความยากลำบากที่บุตรหลานอาจต้องเผชิญขณะศึกษาเล่าเรียนในโรงเรียน พวกเขากังวลว่าบุตรหลานจะเรียนรู้ภาษาท้องถิ่นและปรับตัวเข้ากับสภาพแวดล้อมการเรียนรู้อย่างมีประสิทธิภาพได้หรือไม่ ซึ่งอาจทำให้เกิดปัญหาตามด้านล่างต่อไปนี้
1. อุปสรรคทางภาษา :บุตรธิดาผู้ตั้งถิ่นฐานใหม่มักมาจากภูมิหลังทางวัฒนธรรมที่แตกต่างกัน อาจไม่คุ้นเคยกับภาษาท้องถิ่นหรือมีความแตกต่างอย่างมีนัยสำคัญระหว่างภาษาแม่และภาษาท้องถิ่น ซึ่งสิ่งนี่จะกลายเป็นอุปสรรคที่สำคัญต่อการเรียนรู้ในโรงเรียน
2. ความขัดแย้งทางวัฒนธรรม: บุตรธิดาผู้ตั้งถิ่นฐานใหม่อาจรู้สึกสับสนหรือวิตกกังวลเนื่องจากความแตกต่างกันทางวัฒนธรรม เช่น ค่านิยม ความแตกต่างกันทางบรรทัดฐานในพฤติกรรมฯลฯซึ่งอาจส่งผลต่อการปรับตัวและการเรียนรู้ในโรงเรียนของนักเรียนผู้ตั้งถิ่นฐานใหม่ได้
3. วิธีการและความคุ้นเคยในการเรียน:ระบบการศึกษาระหว่างวัฒนธรรมอาจแตกต่างกัน และวิธีการสอนและรูปแบบการเรียนรู้ที่ไม่เหมือนกัน อาจทำให้บุตรหลานผู้ตั้งถิ่นฐานใหม่ปรับตัวยากที่จะเข้ากับวิธีและข้อกำหนดด้านการศึกษาในท้องถิ่น
4. แรงกดดันทางสังคม:บุตรธิดาผู้ตั้งถิ่นฐานใหม่อาจเผชิญกับแรงกดดันจากสังคมและคนรอบข้าง รวมถึงการเลือกปฏิบัติ การกีดกันและการเปรียบเทียบ เป็นต้น ความกดดันเหล่านี้จะส่งผลกระทบต่อการเรียนรู้และความมั่นใจในตัวเองของพวกเขา
สำหรับปัญหาเหล่านี้ สถาบันการศึกษาและสังคมควรให้การสนับสนุนและมาตรการที่สอดคล้องกัน เช่น ให้การสนับสนุนทางด้านภาษาและบริการแปลภาษา ฝึกอบรมด้านความอ่อนไหวทางวัฒนธรรม แผนการเรียนรู้รายบุคคล และบริการให้คำปรึกษาด้านจิตวิทยา เพื่อช่วยให้บุตรหลานผู้ตั้งถิ่นฐานใหม่เอาชนะอุปสรรคทางภาษาและความยากลำบากในการเรียนรู้นี้ไปได้ บรรลุผลสำเร็จทั้งด้านวิชาการและการพัฒนารอบด้าน
การบูรณาการทางวัฒนธรรมที่แตกต่างและการปลูกฝังค่านิยม:ผู้ปกครองหวังว่าบุตรหลานของตนจะสามารถเรียนรู้ที่จะเคารพวัฒนธรรมและค่านิยมในท้องถิ่น ขณะเดียวกันยังคงรักษาประเพณีวัฒนธรรมของตนเองไว้ ผู้ปกครองใส่ใจว่าค่านิยมของลูกจะพัฒนาอย่างสมดุลในวัฒนธรรมที่แตกต่างกันอย่างไร ด้านล่างต่อไปนี้เป็นข้อเสนอแนะสำหรับการส่งเสริมประเด็นเหล่านี้:
1. การศึกษาทางพหุวัฒนธรรม:สถาบันการศึกษาควรส่งเสริมการศึกษาด้านพหุวัฒนธรรมอย่างจริงจัง รวมถึงการบูรณาการวัฒนธรรมที่แตกต่างเข้าไปในหลักสูตร จัดกิจกรรมหลากหลายวัฒนธรรมและเปิดโอกาสให้มีการแลกเปลี่ยนข้ามวัฒนธรรม ช่วยให้บุตรหลานของผู้ตั้งถิ่นฐานใหม่เข้าใจและเคารพภูมิหลังทางวัฒนธรรมที่แตกต่างกัน
2. การปลูกฝังค่านิยม :สถาบันการศึกษาควรให้ความสำคัญกับการปลูกฝังค่านิยม ส่งเสริมค่านิยมและจริยธรรมที่ถูกต้อง ชี้แนะให้กับลูกหลานผู้ตั้งถิ่นฐานใหม่ได้สร้างความมั่นใจในตนเอง เคารพและรับผิดชอบ บ่มเพาะให้พวกเขาเป็นคนที่ยอมรับ เปิดกว้างและมีความรับผิดชอบ
3. กิจกรรมนอกหลักสูตร :จัดให้มีกิจกรรมนอกหลักสูตรที่หลากหลาย รวมทั้งด้านศิลปะ กีฬา การบริการด้านจิตอาสา เป็นต้น ให้บุตรธิดาผู้ตั้งถิ่นฐานใหม่มีโอกาสเข้าร่วมกิจกรรมกับนักเรียนไต้หวัน ได้ร่วมมือแลกเปลี่ยนซึ่งกันและปลูกฝังค่านิยมร่วมกัน
4. การสนับสนุนจากครอบครัว :ส่งเสริมให้ผู้ปกครองมีส่วนร่วมในการศึกษาของบุตรหลานอย่างแข็งขันร่วมมือกับสถานศึกษา ร่วมดูแลห่วงใยและชี้แนะบูรณาการทางวัฒนธรรมและพัฒนาคุณค่าของบุตรธิดาผู้ตั้งถิ่นฐานใหม่
ผ่านวิธีการเหล่านี้ จะสามารถช่วยให้บุตรธิดาของผู้ตั้งถิ่นฐานใหม่บรรลุผลทางวัฒนธรรมและปลูกฝังคุณค่าทางการศึกษาที่ดี ส่งเสริมให้มีการพัฒนารอบด้านและกลมกลืนเข้ากับสังคมได้อย่างมีประสิทธิภาพ