ไช่เฉาเชี่ยน...หัวหน้าฝ่ายวิชาการโรงเรียนประถมศึกษาเจียงปิง
ในห้องเรียนมักจะมีเด็กจำนวนหนึ่งที่การเรียนไม่ค่อยดี พูดน้อย ไม่ค่อยปฏิสัมพันธ์กับคนอื่น...ต้องบอกว่าสถานการณ์เช่นนี้ไม่ได้เกิดขึ้นเฉพาะกับเด็กที่มาจากครอบครัวผู้ย้ายถิ่นฐานใหม่เท่านั้น แต่ครอบครัวทั่วไปก็อาจเกิดขึ้นได้ เหตุผลอาจมาจากนิสัยท่าทีของตัวเด็กเอง, การศึกษาจากครอบครัว และการปฏิสัมพันธ์กันระหว่างผู้ปกครองและบุตร
ผู้ย้ายถิ่นฐานใหม่ที่มาจากเอเซียตะวันออกเฉียงใต้ หากการแต่งงานมาจากนายหน้าแนะนำสถานะลำดับตำแหน่งในครอบครัวคงไม่ดี ถ้าโชคดีหน่อยในไต้หวันมีสามีที่รักดูแลปกป้องภรรยา เด็กที่เกิดมาจากครอบครัวเช่นนี้การพัฒนาบุคลิกภาพจะไม่ค่อยมีปัญหา ตรงกันข้าม ผู้ย้ายถิ่นฐานใหม่ที่โชคไม่ดีแต่งงานเข้ามาอยู่ในครอบครัวที่ไม่ให้เกียรติภรรยา ก็สามารถจินตนาการได้ถึงการใช้ชีวิต เด็กที่เจริญเติบโตในครอบครัวที่มีสถานการณ์ไม่ดี เส้นทางการเรียนรู้และการปรับตัวจึงเป็นเรื่องยากมาก
เด็กที่มีการเรียนรู้และการปรับตัวที่ไม่ดี ทางโรงเรียนจะให้คำปรึกษาแนะแนวแก่เด็กๆได้พัฒนาการทางด้านจิตใจ ส่งเสริมให้กำลังใจเด็กได้แสดงออกตั้งใจเล่าเรียน ไม่ให้มีการตำหนิจากครอบครัวอีก โรงเรียนและครูทุกระดับชั้นพยายามอย่างดีที่สุดที่จะช่วยเหลือเด็กหรือให้เด็กได้มีโอกาสแสดงออก เช่น ทีมสุขภาพ พิธีกรงานกิจกรรม ทีมงานกรีฑา ทีมฟุตบอล...เพียงแต่เด็กไม่ปฏิเสธก็จะให้เด็กเข้าร่วมทำกิจกรรมให้เด็กได้มีเวทีแสดงออก เด็กๆก็จะยิ่งมีความมั่นใจมากขึ้น ครอบครัวก็จะไม่ใช้วิธีเลี้ยงดูเด็กด้วยการดุด่าตำหนิอีกต่อไป
มีบางครอบครัวเกิดเหตุการณ์ขึ้นกับเด็ก(เช่น คนในครอบครัวเสียชีวิต ประสบปัญหาด้านเศรษฐกิจ...)อารมณ์ของเด็กมักจะเปลี่ยนไปทันที พฤติกรรมภายนอกจะปรากฎ :เงียบไม่พูดจา หมกมุ่นกับการเล่น3C ไม่อาบน้ำ ไม่ทำการบ้าน...ซึ่งจะมีเจ้าหน้าที่แนะแนวเข้ามาดูแลห่วงใยซึ่งการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมของเด็กมักจะถูกจำกัดอยู่เสมอ ดังนั้นในโรงเรียนจึงมักพบเด็กอยู่โดดเดี่ยวเดินไปเดินมาคนเดียวไม่มีเพื่อน ถึงตอนนี้จะมีครูของโรงเรียนเข้ามาให้คำแนะนำ จะเข้าเยี่ยมบ้านนักเรียนเมื่อเวลาเหมาะสม นอกจากจะแจ้งให้ผู้ปกครองของเด็กทราบถึงสภาพการเรียนและอารมณ์ของเด็กแล้ว จะขอให้ผู้ปกครองสนับสนุนส่งเสริมเด็ก หากพบว่าผู้ปกครองต้องการความช่วยเหลือก็จะช่วยหาแหล่งทรัพยากรเพื่อให้ครอบครัวผ่านพ้นความยากลำบากนี้ไปได้
เด็กที่อยู่โดดเดี่ยวเหล่านี้หากเลื่อนชั้นเรียนหรือเปลี่ยนสภาพแวดล้อมการเรียนรู้ สถานศึกษาทั้งสองแห่งต้องเชื่อมวิธีการทำงานอย่างดี(การเรียนและการแนะแนว)ขอให้สถานศึกษาแห่งใหม่ใส่ใจดูแลเด็กนักเรียนที่โดดเดี่ยวเหล่านี้ การเปลี่ยนแปลงสภาพแวดล้อมอาจทำให้เด็กได้เริ่มต้นพบเจอสิ่งใหม่ๆ เริ่มทัศนคติและท่าทางเชิงบวกที่จะเผชิญกับความท้าทายในชีวิต เพราะบนเส้นทางชีวิตไม่โดดเดี่ยวยังมีคนจำนวนมากที่ให้ความห่วงใย มีปัญหาใดๆสามารถปรึกษาครูที่โรงเรียน ครูที่โรงเรียนและครอบครัวสามารถเป็นที่พึ่งพาได้เป็นอย่างดี