ข้ามไปที่บล็อกเนื้อหาหลัก

ช่วยลูกจัดการกับอารมณ์อย่างไร

การจัดการอารมณ์หมายถึงความสามารถของบุคคลในการควบคุมอารมณ์ให้บรรลุถึงเป้าหมาย จัดการหรือปรับอารมณ์ของตนซึ่งจะไม่ส่งผลกระทบต่อการเรียนรู้และคุณภาพในการใช้ชีวิต


เด็กที่อารมณ์มั่นคงมักจะแสดงออกดังต่อไปนี้

1. มีอารมณ์ผันผวนหรืออารมณ์ขึ้นลงค่อนข้างน้อย ควบคุมอารมณ์ของตนได้ง่ายสามารถจัดการกับปัญหาที่เกิดขึ้นในชีวิตและการเรียนได้อย่างมีประสิทธิภาพ

2. มีระเบียบสูงในการจัดการเวลา :จะจัดการกับเวลาและทำกิจวัตรได้ดี เช่นมีเวลาพักผ่อนที่แน่นอน รักษาความสมดุลทางโภชนาการและออกกำลังกาย เป็นต้น

3. มีมนุษยสัมพันธ์ที่มั่นคง : การปฏิสัมพันธ์กับผู้อื่นได้ราบรื่น สร้างความสัมพันธ์ที่ดีระหว่างครูอาจารย์และเพื่อนนักเรียน เรียนรู้การอยู่ร่วมกันกับผู้อื่นได้อย่างดี

4. รู้จักความสามารถพัฒนาตนเอง :  สามารถรู้ถึงความต้องการทางอารมณ์ของตน ความต้องการและความชอบ มีเป้าหมายและแนวคิดที่แน่ชัด วางแผนอนาคตได้อย่างชัดเจน

 

ด้านล่างต่อไปนี้เป็นมุมมองของอาจารย์ที่จะแนะนำให้เห็นถึงการจัดการอารมณ์สำหรับนักเรียนในโรงเรียนมัธยมศึกษาตอนต้น

1. ตระหนักรู้บ่มเพาะตนเอง:นักเรียนต้องเข้าใจสภาวะอารมณ์  ตระหนักถึงการตอบสนองทางร่างกายและอารมณ์และนำ

กลยุทธ์มาใช้เพื่อบรรเทาความรู้สึกท้อแท้ไม่สบาย 

2. สอนให้รู้จักการแสดงออกทางอารมณ์:กระตุ้นให้นักเรียนแสดงออกถึงความรู้สึกขึ้นเอง เรียนรู้การแสดงออกทางอารมณ์จะหาความช่วยเหลือและความสนับสนุนได้อย่างไร

3. กระตือรือร้นบ่มเพาะทัศนคติเชิงบวก:เรียนรู้ที่จะคิดและทำในเชิงบวกช่วยให้นักเรียนใช้ทรัพยากรและความสามารถที่มีเพื่อจัดการกับปัญหาทางอารมณ์ที่หลากหลาย

4. ส่งเสริมการมีปฏิสัมพันธ์ทางสังคม :เรียนรู้การเข้าสังคมกับเพื่อนหรือคนอื่น เรียนรู้ทักษะการแก้ปัญหาและการแก้ปัญหาความขัดแย้ง ตลอดจนถึงการแบ่งปันความรู้สึกและอารมณ์ของตนเอง 

5. เรียนรู้การถ่ายทอดทางอารมณ์:เรียนรู้ที่จะแยกความกังวลและความไม่สบายใจ ถ่ายทอดสู่กิจกรรมและประสบการณ์เชิงบวกเพื่อสร้างความสมดุลให้กับอารมณ์ทางลบ


สำหรับในครอบครัว ผู้ปกครองสามารถช่วยให้ลูกมีความมั่นคงทางอารมณ์ เช่น การจัดสภาพแวดล้อมการอยู่อาศัยที่ดีและความสัมพันธ์ในครอบครัวที่มั่นคง ให้กำลังใจและสนับสนุนในเชิงบวก สร้างการเชื่อมต่อทางอารมณ์ และช่วยให้เด็กมีนิสัยการใช้ชีวิตและทักษะการจัดการอารมณ์ที่ดี ช่วยให้พวกเขาปรับตัวเข้ากับความท้าทายที่เกิดขึ้นใน

ด้านการศึกษาและด้านชีวิตได้ดีขึ้น เมื่อเด็กอารมณ์ไม่ดี ผู้ปกครองสามารถช่วยเด็กให้บรรเทาอารมณ์และมีปฏิสัมพันธ์ซึ่งกัน ด้านล่างต่อไปนี้จะเป็นคำแนะนำ

1. ตั้งใจฟังลูก:ก่อนอื่นฟังความรู้สึกของเด็กก่อน ให้เด็กรู้สึกถึงการถูกเข้าใจจึงจะสร้างปฏิสัมพันธ์ด้านความรู้สึกที่ดีกับเด็กได้

2. การแสดงออกทางอารมณ์: พ่อแม่ต้องเรียนรู้วิธีแสดงออกทางอารมณ์ แบ่งปันประสบการณ์และทัศนคติทางอารมณ์ช่วยให้เด็กเรียนรู้และเข้าใจถึงการแสดงออกและวิธีการจัดการทางด้านอารมณ์

3. ช่วยเด็กเรียนรู้ที่จะจัดการกับอารมณ์ของตนเอง:ผู้ปกครองช่วยให้เด็กได้เรียนรู้ที่จะจัดการกับอารมณ์ เช่น สอนเด็กทำอย่างไรให้ได้ผ่อนคลายและสงบจิตใจ วิธีการแสดงออกทางอารมณ์อย่างไร  วิธีการดูแลตัวเองและผู้อื่นอย่างไร เป็นต้น

4. เข้าร่วมเกมหรือกิจกรรมต่างๆ :ผู้ปกครองสามารถมีส่วนร่วมในเกมหรือกิจกรรมของเด็ก เช่น ดูภาพยนต์ ออกกำลังกายด้วยกัน DIYประดิษฐ์งานฝีมือ เป็นต้น ให้เด็กมีปฏิสัมพันธ์และสื่อสารกับผู้ปกครองมากขึ้น

     

อย่างไรก็ตาม คนที่มีความมั่นคงทางอารมณ์มีโอกาสที่จะประสบความสำเร็จสูงกว่า เนื่องจากคนที่มีอารมณ์มั่นคงมักจะสามารถควบคุมและใช้อารมณ์เพื่อบรรลุถึงเป้าหมายได้ และจะรักษาความใจเย็นและมั่นคงได้โดยง่าย เมื่อเผชิญกับความท้าทายและความยากลำบากจะมีความสามารถในการคิดและแก้ปัญหาอย่างมีประสิทธิภาพ นอกจากนี้ คนที่มีความมั่นคงทางอารมณ์ยังสัมพันธ์กับผู้อื่นได้อย่างกลมกลืนและประสบความสำเร็จมากขึ้น สามารถสร้างมนุษยสัมพันธ์ที่ดีได้รับการสนับสนุนและความช่วยเหลือเพิ่มขึ้น ปัจจัยเหล่านี้ล้วนส่งผลที่ดีต่อชีวิตและความสำเร็จในหน้าที่การงานของบุคคล