จางโซ่วฉรง ผู้ช่วยศาสตราจารย์มหาวิทยาลัยคงจง
ทุกคนต่างเข้าใจ“ในท่อน้ำต้องกำจัดสิ่งสกปรกออกเสมอ มิเช่นนั้นเวลาฝนตกใหญ่จะทำให้น้ำเสียหรือน้ำท่วม”ทุกคนคงทราบดี“ลำไส้ต้องทำงานดี ขับถ่ายเป็นประจำ มิเช่นนั้นลำไส้จะไม่ย่อยทำให้เจ็บท้องหรือท้องผูกได้”ครอบครัวก็เช่นเดียวกัน ต้องสื่อสารกันประจำโดยเฉพาะพ่อแม่ลูก หากขาดการสื่อสารหรือสื่อสารไม่ดีแล้ว ก็จะทำให้เกิดความเข้าใจผิด ทะเลาะกัน ที่หนักอาจทำให้เกิดความขัดแย้งระหว่างพ่อแม่ลูก พ่อแม่ที่รัก“การสื่อสารระหว่างพ่อแม่และลูก”เป็นสะพานหัวใจที่จะทำให้พ่อแม่และลูกเข้าใจกันซึ่งกัน
เราพบว่านักเรียนเยาวชนหลายคน ตอนเรียนอยู่ชั้นประถมผลการเรียนคณิตศาสตร์นั้นจะดีเยี่ยม อย่างน้อยก็เป็นปกติ พอขึ้นชั้นมัธยมผลการเรียนคณิตศาสตร์กลับตกต่ำฉับพลัน Peter เป็นกรณีตัวอย่างที่เห็นได้ชัด เข้าเรียนชั้นมัธยมต้นปีที่หนึ่งผลคะแนนการสอบคณิตศาสตร์ครั้งแรกสอบได้เพียง49คะแนน คืนนั้นPeterขอให้พ่อ/แม่ลงชื่อบนใบข้อสอบ……
เมื่อเห็นผลคะแนนเช่นนี้พ่อแม่หลายคนมักจะรู้สึกประหลาดใจ เป็นกังวลใจ มักจะพูด:“ลูกเป็นอะไรไปหรือเปล่า ทำไมผลสอบคะแนนออกมาเช่นนี้?”จริงๆแล้วภายในใจของPeterก็มีความเศร้า ละอาย หวาดกลัวและไม่มั่นคง หากพ่อแม่ใช้ใจเขาใจเรา นำความรู้สึกมาปลอบโยน Peter:“ผลคะแนนเช่นนี้ พ่อแม่ก็เหมือนกับลูกที่รู้สึกผิดหวัง แต่อย่าเป็นเพราะล้มเหลวครั้งนี้แล้วทำให้ลูกท้อแท้”“แม้จะคิดไม่ถึงว่าผลคะแนนจะออกมาเป็นเช่นนี้ แต่พ่อแม่ก็เข้าใจว่าลูกได้พยายามทำเต็มที่แล้ว”
ถึงตอนนี้ พ่อ/แม่ของ Peterหยิบปากกาขึ้นมาจะเขียนแต่ก็หยุดไว้ ทนไม่ได้จึงพูดตำหนิ:“ไม่ใช่อยากจะว่าลูก แต่ผลคะแนนเช่นนี้ต่อไปจะทำอย่างไร?”หากพ่อแม่เข้าใจถึงความรู้สึกของลูก จะใช้คำพูดบอกว่า“ Peterผลคะแนนของลูกพ่อแม่ดีใจแล้ว แต่ลูกต้องรับผิดชอบผลคะแนนของลูกเอง”“พ่อแม่ไม่ตำหนิลูก แต่อยากให้ลูกเข้าใจ ผลคะแนนนี้ทำให้พ่อแม่รู้สึกเป็นห่วง”
พ่อแม่ของPeterลงชื่อในใบผลคะแนนสอบด้วยความรู้สึกโกรธ เป็นกังวล และละอาย ส่ายหน้าด้วยความผิดหวังแล้วพูดว่า“วันๆเอาแต่ดูทีวี เล่นมือถือ ควรใส่ใจกับการเรียนให้มากขึ้น!”หากพ่อแม่สื่อสารโดยไม่เข้าใจที่ลูกล้มเหลวให้กำลังใจลูกเมื่อล้มให้ลุกขึ้นมาใหม่ และบอกลูกว่า“บางทีเราต้องมานั่งคุยกันว่าจะแก้ปัญหาผลคะแนนนี้กันอย่างไร”“หากหลังเลิกเรียนเพิ่มเวลาทบทวนการเรียน พ่อแม่เชื่อว่าครั้งหน้าลูกต้องทำได้ดี”
“พูดอย่างไร”เทียบกับ “พูดอะไร”จะสำคัญกว่า เมื่อพ่อแม่รับรู้ความรู้สึกของลูก ทัศนคติและภาษาที่ใช้ในการสื่อสารก็จะแสดงออกถึงความเห็นอกเห็นใจและเป็นการสื่อสารที่ดี ความคิดของพ่อแม่และลูกจะกลมกลืนเชื่อมต่อกัน ลูกจะได้รับการอภัย ความห่วงใยและคาดหวังจากพ่อแม่ซึ่งลูกจะเพิ่มความพยายามเป็นสองเท่า พ่อแม่ที่รัก“การสื่อสารด้วยความเห็นอกเห็นใจ”จะเป็นสิ่งที่อบอุ่น เยียวยา และทำให้เกิดสิ่งใหม่