หวังเผ่ยหลิง อาจารย์หัวหน้าฝ่ายแนะแนวโรงเรียนมัธยมศึกษาตอนต้นกู่ถิง
หลายปีมานี้ในฝ่ายแนะแนวมักจะได้ยินผู้ปกครองกล่าว“อาจารย์ ลูกฉันอยู่บ้านนั่งเล่นเกมทั้งวัน ไม่ออกจากบ้านไม่เรียนหนังสือ เด็กๆติดเกมแล้วใช่ไหม ฉันควรทำอย่างไรดี?”
ตามองค์การอนามัยโลก(WHO)ในปลายเดือนมิถุนายน ปี 2018 ประกาศอย่างเป็นทางการนำ“การเสพติดเกมบนอินเทอร์เน็ต”เข้าเป็นโรคทางสุขภาพจิต มีเกณฑ์มาตรฐานตัดสิน3ประการ รวมถึงไม่สามารถควบคุมตนเอง และส่งผลกระทบต่อชีวิตความเป็นอยู่ซึ่งสถานการณ์จะเป็นเช่นนี้ติดต่อกันนานหนึ่งปี ที่สำคัญจะปรากฎเด็กและเยาวชนติดเกมแบบ“ไม่อาจควบคุมจนควบคุมชีวิตไม่ได้”ไม่ใช่เป็นสิ่งที่คนทั่วไปคิดว่า“เสียเวลากับการเล่นเกมนานเกินไป”
ส่วนในสถานศึกษาความหมายของ“การเสพติดอินเทอร์เน็ต”สิ่งสำคัญจะชี้ถึง“เนื่องจากการเล่นอินเทอร์เน็ตนานเกินไปทำให้ส่งผลกระทบด้านลบต่อการศึกษาเล่าเรียน การทำงาน การเข้าสังคม ครอบครัวและความสามารถทั้งด้านร่างกายและจิตใจ ”มาตรฐานการตัดสินรวมถึง7หัวข้อด้านล่างต่อไปนี้ เพียงสอดคล้องตามสถานการณ์หัวข้อใดสามหัวข้อและติดต่อกันนานกว่า12เดือนขึ้นไป จึงจะระบุว่าเป็น“การเสพติดอินเทอร์เน็ต ”
1.ความอดทนคิดหวังว่าต้องการเพิ่มเวลาในการเล่นอินเทอร์เน็ตให้มากยิ่งขึ้น
2.เมื่อคิดจะเลิกเล่นอินเทอร์เน็ต มักจะแสดงอาการไม่สงบและกระวนกระวายใจ คิดถึงวนไปวนมาแต่เรื่องราวที่เกิดขึ้นบนอินเทอร์เน็ต
3.สถานการณ์การเล่นอินเทอร์เน็ตเกินกว่าเวลาและความถี่ที่คาดไว้มาก
4.จะใช้เวลามากขึ้นในเรื่องราวหรือสิ่งที่เกี่ยวข้องบนอินเทอร์เน็ต
5.มีความคิดที่จะไปควบคุมหรือหยุดการเล่นอินเทอร์เน็ตแต่ทำไม่สำเร็จ
6.กิจกรรมทางด้านสังคม การทำงาน หรือความบันเทิงลดลงหรือเลิกทำเพราะการใช้อินเทอร์เน็ต
7.กระทั่งพบว่าการเล่นอินเทอร์เน็ตทำให้เกิดปัญหาที่กล่าวมาข้างต้นซ้ำไปซ้ำมาแต่ก็ยังไม่สามารถหยุดเล่นอินเทอร์เน็ตได้
ในสังคมปัจจุบัน การติดอินเทอร์เน็ตเป็นเรื่องปกติที่พบบ่อยในหมู่วัยรุ่นทำให้เกิดผลกระทบ เช่น ความนับถือตนเองน้อยลง ความกดดันด้านการเรียนหรือการทำงาน ความสัมพันธ์ในครอบครัวไม่ดี ความสัมพันธ์ระหว่างบุคคลแย่ลง เป็นต้น อยากย้ำเตือนท่านผู้ปกครองทั้งหลายหากต้องการให้ลูกอยู่ห่างไกลจากการเสพติดอินเทอร์เน็ต อันดับแรกต้องมีความสัมพันธ์ระหว่างพ่อแม่ลูกที่ดีถึงจะสามารถช่วยเหลือลูกได้ อันดับสองต้องเข้าใจว่าลูกเล่นอินเทอร์เน็ตเพื่ออะไร? เพราะสนใจใช่ไหม? เพราะสังคมใช่ไหม? หรือเพราะต้องการหลบหนีอะไร? อันดับสุดท้ายต่อยอดปัญหาคืออินเทอร์เน็ตสร้างให้เชื่อมต่อกับสังคม ขณะเดียวกันก็ทำให้แยกออกจากสังคม!
ในที่นี้อยากจะบอกเตือนท่านผู้ปกครองทั้งหลาย หากลูกมีสถานการณ์เสพติดอินเทอร์เน็ตอย่างร้ายแรง นอกจากจะพาไปพบแพทย์รักษาชี้แนะและติดต่ออย่างใกล้ชิดกับครูในโรงเรียนแล้ว ขอให้ผู้ปกครองจดจำทิศทางใหญ่นั่นคือปัญหาการเสพติดอินเทอร์เน็ตที่สำคัญคือ“ขาดการติดต่อกับผู้คน ”ความสัมพันธ์ของบุคคลไม่เพียงแต่เพื่อน ครูอาจารย์ ที่ยิ่งขึ้นคือครอบครัว ดังนั้นควรสร้างความสัมพันธ์ระหว่างพ่อแม่ลูกที่ดีก่อน จึงจะสามารถช่วยเหลือลูกได้อย่างดี ไม่ว่าจะเป็นการพูดคุยกันเรื่องเป้าหมายในชีวิต การสร้างความสัมพันธ์ระหว่างบุคคล เพิ่มเทคนิคการสื่อสาร เป็นต้น การมีปฏิสัมพันธ์ระหว่างบุคคลที่ดีในชีวิตเชื่อมโยงการเข้าร่วมกิจกรรมในสังคมจึงจะเป็นวิธีการแก้ปัญหาที่ดีที่สุด