หลายปีมานี้ทำงานในห้องแนะแนวจะได้ยินผู้ปกครองถามถึงบ่อยๆ“คุณครู ลูกทำให้ฉันโกรธแทบจะเป็นบ้าอยู่แล้ว! ฉันไม่รู้ว่าจะพูดกับลูกยังไง ? ”
จริงๆแล้ว ทักษะการพูดอันอบอุ่นระหว่างผู้ปกครองและบุตรเป็นวิธีการปฏิสัมพันธ์วิธีหนึ่ง สามารถสร้างความผูกพันระหว่างผู้ปกครองและบุตรช่วยเพิ่มการสื่อสารและความเข้าใจ ด้านล่างเป็นตัวอย่างเทคนิคการพูดอันอบอุ่นระหว่างผู้ปกครองและบุตร:
1. ใช้การพูดเชิงบวก:ด้วยคำพูดให้กำลังใจและชื่นชมสร้างความมั่นใจและความกระตือรือร้นให้ลูก เช่น “หนูทำได้ดีมาก!” “พ่อแม่เชื่อมั่นว่าหนูจะทำได้!”
2. รับฟังและเคารพความรู้สึกของลูก:เมื่อลูกแสดงอารมณ์หรือความคิดเห็นนั้นให้พื้นที่สำหรับความรู้สึกของลูกและรับฟังความต้องการของพวกเขา เช่น “พ่อแม่รู้ว่าหนูโกรธมาก หนูต้องการบอกไหมว่าเกิดเรื่องอะไรขึ้น?”
3. สอบถามไม่ใช่ตำหนิ : เมื่อลูกทำผิดให้ใช้คำถามทำให้ลูกคิดและสำนึกผิด เช่น“การตัดสินใจของหนูเป็นผลดีต่อหนูและคนอื่นหรือไม่?”
4. ใช้คำว่า“พ่อแม่” :แสดงถึงความรู้สึกและวิธีคิด ไม่ตำหนิหรือวิจารณ์ลูก เช่น “เมื่อหนูไม่บอกแผนการให้รู้ พ่อแม่รู้สึกเป็นห่วงและสับสน”
5. กำหนดเป้าหมายร่วมกัน:ตั้งเป้าหมายร่วมกับลูกพร้อมให้กำลังใจส่งเสริมให้ลูกคิดว่าจะทำเป้าหมายให้เป็นจริงได้อย่างไร เช่น “เราจะวางแผนการศึกษาร่วมกัน ช่วยให้หนูบรรลุถึงเป้าหมาย”
6。 ให้กำลังใจที่จะแก้ไขปัญหา:ช่วยลูกค้นพบวิธีการแก้ปัญหาไม่ใช่บอกคำตอบโดยตรง เช่น “หนูคิดว่ามีวิธีไหนที่จะแก้ไขปัญหานี้ได้”
7. ให้ความมั่นใจและกำลังใจ: ไม่ว่าจะเป็นความก้าวหน้าหรือความพยายามเพียงเล็กน้อยก็ให้ความมั่นใจและกำลังใจ เช่น“พ่อแม่รู้ว่าหนูพยายามเรียนรู้ พ่อแม่รู้สึกภูมิใจในตัวหนูมาก!”
เทคนิคคำพูดที่อบอุ่นเหล่านี้จะช่วยสร้างความสัมพันธ์ระหว่างผู้ปกครองและบุตรช่วยเสริมสร้างความเจริญเติบโตและบ่มเพาะความมั่นใจให้กับลูก จำว่า สิ่งสำคัญคือความเคารพ ความเข้าใจและการปฏิสัมพันธ์ซึ่งกัน นอกจากนี้ยังมีเคล็ดลับการเลี้ยงดูบุตรอีกหลายหัวข้อให้ผู้ปกครองได้ใช้พิจารณา:
1. รับรู้ถึงความพยายามของลูก:อย่าเน้นเพียงแค่ผลลัพธ์ต้องให้ความสำคัญกับความพยายามกับการทุ่มเทของลูกด้วย เช่น “พ่อแม่เห็นหนูพยายามทำการบ้านให้เสร็จ พ่อแม่ภูมิใจในตัวหนู!”
2. ให้สิทธิ์ในการเลือก:เปิดโอกาสให้ลูกเลือกทำให้พวกเขารู้สึกได้รับความเคารพและรู้ถึงความรับผิดชอบ เช่น “หนูอยากทำหน้าที่ไหนก่อน:ล้างจานหรือกวาดบ้าน?”
3. แบ่งปันความขอบคุณ:แสดงความขอบคุณต่อลูก ให้พวกเขารู้ว่าความพยายามและความช่วยเหลือที่ลูกทำนั้นถูกมองเห็นและมีคุณค่า เช่น “ขอบใจที่หนูยอมช่วยทำความสะอาดห้อง สำหรับพ่อแม่แล้วเป็นสิ่งที่สำคัญมาก!”
4. ให้กำลังใจสร้างความคิดสร้างสรรค์และจินตนาการ:ให้พื้นที่และเวลากับลูก ส่งเสริมลูกให้มีพลังความคิดสร้างสรรค์และจินตนาการ เช่น “ภาพวาดของหนูมีความคิดสร้างสรรค์มาก พ่อแม่ชอบไอเดียแปลกใหม่ที่หนูคิดออกมา!”
5. กำหนดกฎเกณฑ์และข้อตกลงร่วมกัน :พูดคุยกับลูกและกำหนดระเบียบกับความตกลงร่วมกัน ให้พวกเขามีส่วนร่วมและทำความเข้าใจในเหตุผล เช่น “เรามาคุยกันถึงเวลาเข้านอน เช่นนี้แล้วหนูจะได้นอนหลับเต็มอิ่ม”
6. ให้การสนับสนุนทางด้านอารมณ์ :เมื่อลูกรู้สึกถึงความท้อแท้ เศร้าโศกหรือกังวลใจ ให้ความสนับสนุนทางด้านอารมณ์และปลอบใจ เช่น “พ่อแม่เข้าใจที่หนูเป็นกังวลใจ พ่อแม่จะอยู่ตรงนี้คอยช่วยหนู”
วิธีการปฏิสัมพันธ์อันอบอุ่นระหว่างผู้ปกครองและบุตรเหล่านี้จะช่วยเชื่อมต่อความสัมพันธ์ระหว่างผู้ปกครองและบุตร ยิ่งเสริมสร้างความสัมพันธ์ให้แน่นแฟ้นและเป็นสุข
ขออวยพรให้ทุกครอบครัวผู้ปกครองและบุตรมีความสัมพันธ์ที่กลมกลืนและเข้าใจกัน!