ไช่เฉาเซี่ยน หัวหน้าฝ่ายแนะแนว โรงเรียนประถมศึกษาจิ้วจวง
จากการเก็บรวบรวมข้อมูลสถิติประชากรในปีค.ศ2020ของกระทรวงมหาดไทย ปี2020 เด็กทารกแรกเกิดที่มีบิดาหรือมารดาเป็นผู้ย้ายถิ่นฐานใหม่คิดเป็นร้อยละ7.7 เปรียบเทียบจุดสูงสุดร้อยละ13.37ในปี2003 นั้นมีแนวโน้มลดลง แต่สัดส่วนของประชากรผู้ย้ายถิ่นฐานใหม่ในไต้หวันยังคงละเลยไปไม่ได้บุตรธิดาของผู้ย้ายถิ่นฐานใหม่ที่กำลังศึกษาอยู่ในสถานศึกษาไม่มีความแตกต่างจากเด็กนักเรียนทั่วไป ส่วนสำคัญอยู่ที่ครอบครัวจะช่วยเหลือดูแลหรือไม่ แต่ใช่ว่าจะเกิดขึ้นกับครอบครัวที่ไม่ใช่ผู้ย้ายถิ่นฐานใหม่ ในการเลือกหลักสูตรภาษาท้องถิ่นหรือการพูดภาษาประเทศแม่กับลูกในบ้านนั้นมีการเลือกปฏิบัติที่แตกต่างกัน
ภาษาเอเซียตะวันออกเฉียงใต้ได้เข้าสู่หลักสูตรการเลือกเรียนวิชาภาษาท้องถิ่นในปีการศึกษา2019 ในรั้วสถานศึกษาจะพบว่ามีบุตรธิดาผู้ย้ายถิ่นฐานใหม่หลายคนที่มีภูมิหลังจากเอเซียตะวันออกเฉียงใต้ แต่ไม่เลือกเรียนภาษาของบิดาหรือมารดาซึ่งเป็นปรากฎการณ์ที่น่าประหลาดใจ เมื่อทำความเข้าใจความคิดของเด็ก เด็กมักจะพูดว่า ทำตามความต้องการของผู้อาวุโสในบ้านที่ให้เลือกเรียนภาษาหมิ่นหนาน(หรือภาษาจีนฮากกา) เพราะไม่เข้าใจภาษาเดิมของมารดา จากคำพูดของเด็กพบว่า ผู้ย้ายถิ่นฐานใหม่ที่มาจากเอเซียตะวันออกเฉียงใต้เหล่านี้อยู่ในครอบครัวที่ค่อนข้างอ่อนแอ โดยเฉพาะสตรีผู้ย้ายถิ่นฐานใหม่นอกจากรับผิดชอบงานบ้านในครอบครัวแล้ว ยังต้องทำงานเลี้ยงดูครอบครัวอีกด้วย ยุ่งทั้งงานบ้านยุ่งทั้งการทำงาน จะหาเวลามาดูแลเรื่องการเรียนของลูกก็ยากเต็มที
เพื่อเข้าใจถึงความยากลำบากของครอบครัวผู้ย้ายถิ่นฐานใหม่และโอกาสการเรียนรู้ของเด็กที่โรงเรียน สอบถามความห่วงใยต่อผู้ปกครองผู้ย้ายถิ่นฐานใหม่ให้ใช้โอกาสสื่อสารภาษาแม่กับลูก แต่ครอบครัวผู้ย้ายถิ่นฐานใหม่มีความแตกต่างกันไป ครอบครัวที่โชคดีก็สามารถทำได้ตั้งแต่ลูกยังเล็กในชีวิตประจำวันก็จะมีโอกาสสื่อสารกับผู้ปกครองด้วยภาษาแม่ แม้ว่าภาษาแม่จะพูดได้ไม่ดีแต่ก็ทำให้เด็กๆตระหนักถึงวัฒนธรรมประเทศบ้านเกิดของแม่หรือพ่อ ตรงกันข้ามหากครอบครัวที่ความสัมพันธ์การสมรสมีการปฏิบัติที่ไม่เท่ากัน สถานะครอบครัวของผู้ย้ายถิ่นฐานใหม่ก็จินตนาการได้ โดยเฉพาะในครอบครัวที่ยังมีคนรุ่นปู่หรือรุ่นย่าซึ่งไม่อนุญาตให้ผู้ย้ายถิ่นฐานใหม่สอนลูกให้สื่อสารด้วยภาษาแม่ ไม่ต้องพูดถึงว่าจะให้เลือกเรียนภาษาเอเซียตะวันออกเฉียงใต้ในโรงเรียนซึ่งเป็นสิ่งที่เป็นไปไม่ได้เลย
โดยส่วนตัวแล้วได้มีโอกาสใช้ประโยชน์ทางการศึกษาและเครื่องมือภาษาอื่นๆ พูดคุยกับผู้ย้ายถิ่นฐานใหม่และบุตรธิดาถึงการเลือกเรียนวิชาภาษาท้องถิ่นโดยเฉพาะผู้ปกครองและบุตรธิดาที่มาจากครอบครัวด้อยโอกาส สนทนาเป็นการส่วนตัวให้รู้ว่าการพูดได้อีกหนึ่งภาษาจะมีโอกาสในอนาคตอีกมากมาย นอกจากสื่อสารกับผู้คนในประเทศแม่แล้ว อีกสิ่งหนึ่งที่สำคัญคือเป็นทางออกในการพัฒนาเศรษฐกิจ สร้างสะพานเชื่อมระหว่างสองประเทศทั้งด้านวัฒนธรรมและเศรษฐกิจ เช่น การนำเข้าสินค้าโดดเด่นของไต้หวันไปยังประเทศแม่ หรือนำสิ่งที่เป็นเอกลักษณ์จากประเทศแม่เข้าสู่ไต้หวัน อย่างวัฒนธรรมอาหารข้าวของเวียดนาม...เส้นเล็กเวียดนาม ชานมไข่มุกของไต้หวัน...... แต่ต้องเรียนภาษาให้ดีจึงจะได้รับโอกาสมากมาย
หลังจากพูดคุยสนทนากับผู้ปกครองผู้ย้ายถิ่นฐานใหม่และบุตรธิดาแล้ว ทั้งผู้ย้ายถิ่นฐานใหม่และบุตรธิดาเกิดความกระตือรือร้นที่จะเรียนภาษาแม่ จุดประกายในใจให้กลับมาสนใจวัฒนธรรมและเศรษฐกิจของประเทศแม่มากขึ้น ได้ใช้เวลาเรียนรู้และพัฒนาอย่างต่อเนื่อง คาดหวังกับอนาคตที่จะมาถึง