ข้ามไปที่บล็อกเนื้อหาหลัก

บุตรผู้ตั้งถิ่นฐานใหม่ประสบปัญหาเกี่ยวกี่ยวกับการเรียน-เทคนิคทางสังคม

ไช่เฉาเซี่ยน  หัวหน้าฝ่ายแนะแนวโรงเรียนประถมศึกษาจิ้วจวง


   บุตรผู้ตั้งถิ่นฐานใหม่เมื่อเรียนในโรงเรียนมีความแตกต่างกับนักเรียนทั่วไปหรือไม่  ตัวแปรสำคัญอยู่ที่สมรรถนะของครอบครัวมีประสิทธิภาพหรือไม่  แต่นี่ก็มิใช่เรื่องที่มีเพียงแค่ครอบครัวผู้ตั้งถิ่นฐานใหม่เท่านั้น  ภาวะการณ์ด้านการศึกษาของบุตรผู้ตั้งถิ่นฐานใหม่ในโรงเรียนที่พบได้บ่อย จากการที่ตนเองสังเกตพบโดยรวมคือการขาดความมั่นใจ การศึกษาลำบากมีอัตราสูง เทคนิคทางสังคมค่อนข้างต่ำ........บางทีเกี่ยวเนื่องแน่นอนกับสมรรถนะการอบรมของครอบครัว

     วันนี้ขอเขียนในเรื่องของเทคนิคทางสังคม ซึ่งมีความสัมพันธ์กับปัญหา 3 ประการอันได้แก่ “การขาดความมั่นใจ การศึกษาลำบากมีอัตราสูง เทคนิคทางสังคมค่อนข้างต่ำ” ตามที่ผู้เขียนกล่าวไว้ข้างต้น หากลองคิดดูการขาดความมั่นใจก็จะส่งผลต่อการศึกษาและเทคนิคทางสังคมของเด็กแล้ว   บุตรผู้ตั้งถิ่นฐานใหม่ที่พื้นเพมาจากเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ วัฒนธรรมของมารดาในสิ่งแวดล้อมของครอบครัวมีสภาพเป็นรอง ย่อมมีสถานะด้อยในครอบครัว ส่งผลโดยตรงต่อการพัฒนาบุคลิกภาพของเด็ก เพราะครอบครัวลักษณะนี้ การอบรมบุตรย่อมตกเป็นภาระของมารดา บวกกับมารดาไม่รู้ภาษาจีนหรือการสื่อสารภาษา   ทำให้ไม่สามารถช่วยเหลือชี้แนะด้านการเรียนแก่เด็กได้ โดยเฉพาะเมื่อเด็กเริ่มเข้าเรียนในโรงเรียน ในขณะที่พบกับปัญหาการเรียน ไม่สามารถจัดการได้ในทันที การมีประสบการณ์การเรียนที่ล้มเหลว ย่อมเป็นการยากที่ย้อนคืนได้ เมื่อผลการเรียนไม่ดีเป็นเวลานาน ความมั่นใจก็จะลดลงเรื่อยๆ  ทำให้เทคนิคทางสังคมก็เกิดปัญหาตามไปด้วย

    ในด้านการศึกษาแบบพิเศษ เทคนิคทางสังคมเป็นศัพท์เฉพาะทาง ซึ่งหมายถึงการปฏิสัมพันธ์ของบุคคล  แต่เด็กลักษณะนี้เทคนิคทางสังคมไม่ดีพอ ขาดแม้กระทั่งเพื่อนเรียน ดังนั้นเรียนเองอย่างไม่มีเพื่อน จนทำให้โดดเดี่ยวขาดการเรียนรู้   เนื่องจากไม่ได้รับมิตรภาพจากเพื่อน   สภาพการเรียนในโรงเรียนย่อมเป็นการยากที่จะดีได้  เด็กที่เทคนิคทางสังคมไม่ดีพอลักษณะนี้  จะมีลักษณะสุดขั้วสองประเภท หนึ่งคือเงียบๆ  พูดน้อยมาก และอีกหนึ่งคือชอบทำตัวให้เป็นที่สังเกตุ  ดังนั้นทำผิดเรื่องเล็กอยู่ตลอด ยิ่งทำให้เพื่อนรู้สึกไม่ดีและตีตัวออกห่าง   แม้แต่การแบ่งกลุ่มการเรียนก็ไม่อยากร่วมด้วย  เด็กลักษณะนี้หากถูกครูละเลยแล้ว ยิ่งจะทำให้การเรียนแย่ลงเรื่อยๆ  ดังนั้นครูจึงต้องเอาใจใส่เด็กลักษณะนี้  ประคองเขาให้เด็กสามารถมุ่งหน้าตามทัน

     จากประสบการณ์แนะแนวของตนเอง ขอเสนอให้ผู้ปกครองและครูได้พิจารณา   ในส่วนของสมรรถนะของครอบครัว ครูผู้แนะแนวและนักสังคมสงเคราะห์ควรเข้าร่วมให้การแนะแนวอย่างเหมาะสม   เพื่อเพิ่มสมรรถนะการอบรมของครอบครัวและค้นพบปมของปัญหา  ช่วยเหลือแก้ไขปัญหาที่มี   ซึ่งค่อนข้างมีผลในการช่วยเหลือมุ่งแก้ปัญหาให้แก่เด็กในทางบวก สำหรับกลยุทธ์การแนะแนวแก่เด็กที่เงียบขลาดกลัวพูดน้อย  แนะนำให้เวทีแก่เด็กมีโอกาสในการแสดงออก  แต่ต้องให้การช่วยเหลือเตรียมตัวล่วงหน้า  ให้เด็กมีจุดสว่างเด่นในสายตาเพื่อน  ก็จะเริ่มสะสมซึ่งความมั่นใจในตัวเอง   การปฏิสัมพันธ์กับเพื่อนก็จะดีขึ้นตามลำดับ   ส่วนเด็กอีกประภทซึ่งชอบทำตัวให้เป็นที่สังเกตุ  ดังนั้นทำผิดเรื่องเล็กอยู่ตลอด  อันดับแรกให้แสดงจุดเด่นของเด็กก่อน  เด็กลักษณะนี้โดยทั่วไปมักมีสิ่งที่ก่อประโยชน์ได้  ดังนั้นต้องให้เด็กอื่นรับรู้จุดเด่นของเขา  โดยเริ่มจากกลุ่มเด็กที่ยอมรับเด็กลักษณะนี้ได้   จากนั้นจึงให้การแนะแนวเทคนิคทางสังคมในการปฏิสัมพันธ์กับเด็กอื่นแก่เด็กประภทนี้  ปรับปรุงสิ่งที่ผู้คนไม่นิยมชมชอบ  ค่อยๆเพิ่มการยอมรับของเพื่อน เพื่อให้เด็กลักษณะนี้ไม่โดดเดี่ยวอีกต่อไป